คลอง
วันอาทิตย์ ที่ 27 พฤศจิกายน 2554
คนส่วนใหญ่ไม่ชอบน้ำท่วม จึงพยายามปิดกั้น ป้องกันอย่างดี จนทำให้เราไม่รู้ระบบ คาดการณ์ไม่ถูก และหนีไม่ทัน เมื่อเกิดสถานการณ์ผิดพลาด คาดไม่ถึง
ปกติ น้ำมีที่อยู่เป็นหลักแหล่งใน คู คลอง และท่อระบาย ที่เชื่อมเป็นระบบ ไม่ให้เอ่อ เท้อ ขึ้นท่วม การทำความรู้จักไว้บ้าง ก็จะเห็นทางหนีทีไล่ หากเกิดภาวะไม่พึงประสงค์ นองล้น ไล่คนให้ขึ้นไปติดเกาะบนชั้นสองหรือหลังคาบ้าน
กรุงเทพฯ มีคลอง 1,161 คลอง ยาวรวมกัน 2,272 กม. มี คู ลำราง ลำกระโดง 521 แห่ง ถ้ามาต่อกัน ก็ยาวถึง 331 กม. มีท่อระบายน้ำใต้ถนน ซึ่งคนส่วนใหญ่มองไม่เห็นอีก 1,640 กม. เชื่อมโยงกัน วางระบบให้ไหลจากน้ำทิ้งตามบ้าน ลงท่อระบายน้ำ เคลื่อนตัวเป็นทอด ๆ ลงคู และคลองเล็ก ๆ ใกล้ชุมชน ที่เราอาจไม่เคยเหลียวแล สู่คลองหลัก อาทิ คลองแสนแสบ คลองประเวศน์บุรีรมย์ คลองลาดพร้าว คลองพระโขนง ออกแม่น้ำเจ้าพระยา ลงทะเลที่อ่าวไทย
ระบบที่ว่าอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก ไหลจากที่สูงสู่ที่ต่ำ และจะมีประสิทธิภาพหากลำน้ำต่าง ๆ มีที่ว่าง ตรงข้ามถ้าน้ำนองล้นตลิ่ง นอกจากไม่ไปอย่างที่ควร ยังย้อนศร จากแม่น้ำกลับเข้าคลอง แล้วดันโผล่พุ่งตามท่อ
ในกรุงเทพฯ มีระบบป้องกันตัวเอง ไม่รอธรรมชาติ โดยปิดล้อมด้วยประตูน้ำปากคลอง แล้วสูบลงแม่น้ำเจ้าพระยา หน้าแล้ง คลองแห้ง มีน้ำเสีย ก็สูบน้ำดีจากปลายคลองด้านหนึ่ง ไปออกอีกด้าน ทั้งยังมีอุโมงค์สูบน้ำขนาดใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลาง 5 เมตร สูบจากถนนพระรามเก้าไปลงคลองพระโขนง
คลองทุกสายในกรุงเทพฯ มีบทบาทสำคัญต่อการระบายน้ำ ที่เราควรใส่ใจ ทำความรู้จัก และช่วยกันโวยวาย ถ้าเห็นว่าถูกละเลย ปล่อยให้ตื้นเขิน หรือโดนบุกรุก
วิธีจะรู้จักก็ต้องไปเที่ยวชม เพื่อให้สนุกก็ต้องศึกษาประวัติ เรียนรู้ความเป็นมา แสวงหาข้อมูลจากคนพื้นที่
ริมคลองทุกสายมีวิถีชีวิต มีอาชีพ และเรื่องราวน่าสนใจ มีมุมงาม ๆ ให้บันทึกภาพเป็นที่ระลึก
ถ้าไม่รู้จะเริ่มตรงไหน ก็เลือกจากคลองที่คณะรัฐมนตรีมีมติตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2510 กำหนดคลองที่ต้องอนุรักษ์ ในฐานะที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ได้แก่ 1. คลองแสนแสบ 2. คลองเปรมประชากร 3. คลองผดุงกรุงเกษม 4. คลองพระโขนงและคลองประเวศบุรีรมย์ 5. คลองคูเมืองเดิม 6. คลองโอ่งอ่าง 7. คลองหลอด 8. คลองคูเมืองเดิมฝั่งตะวันตก 9. คลองนครบาลหรือคลองวัดแจ้ง 10. คลองแม่น้ำอ้อม 11. คลองบางกอกน้อย 12. คลองบางขุนศรี หรือคลองชักพระ 13. คลองบางกอกใหญ่ หรือคลองบางหลวง 14. คลองภาษีเจริญ 15. คลองมหาสวัสดิ์ 16. คลองมอญ 17. คลองบางระมาด 18. คลองบางยี่ขัน 19. คลองสาน 20. คลองบางไส้ไก่ 21. คลองบางสะแก 22. คลองบางลำภูล่าง 23. คลองต้นไทร 24. คลองด่าน
คลองทุกสาย มีประโยชน์นับแต่อดีต ทางราชการให้ความสำคัญ มีการประกาศใช้ “พระราชบัญญัติรักษาคลอง รัตนโกสินทร์ศก 121” ใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า “มีพระบรมราชโองการ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า การเพาะปลูกก็ดี การค้าขายไปมาก็ดี ในพระราชอาณาเขตนี้ ทางน้ำลำคลองเป็นสำคัญ และในเวลานี้ คลองก็มีอยู่แล้วเป็นอันมาก แต่ชำรุดตื้นเขินไปเสียโดยมาก เหตุเพราะยังมิได้จัดการรักษาให้พอเพียง ทรงพระราชดำริจะบำรุงและรักษาคลองเก่าที่มีอยู่แล้ว และที่จะขุดขึ้นใหม่ให้เรียบร้อยถาวร เพื่อใช้ประโยชน์และสะดวกแก่ธุระของราษฎรยิ่งขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติไว้”
กฎหมายในสมัยนั้น วางหลักที่สำคัญ ห้ามไม่ให้ทิ้งขยะมูลฝอย และสิ่งปฏิกูลลงในคูคลอง ผู้ทำผิดมาตรานี้ จะถูกปรับไม่เกิน 20 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ กับถ้าปล่อยให้สัตว์พาหนะ และสัตว์เลี้ยง เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย ลงคลอง ซึ่งไม่ใช่ท่าข้ามทางการอนุญาต จะต้องถูกปรับเป็นรายตัว ตัวละไม่เกิน 10 บาทเป็นต้น
วันนี้ ถ้าเรารู้จัก รัก ช่วยกันดูแล และหาทางป้องกันมิให้คลองตื้นเขินเสียสภาพไป เรื่องร้าย ๆ คงไม่ท้นท่วมสูงจนอยู่ยากอย่างที่เป็น.
ปกติ น้ำมีที่อยู่เป็นหลักแหล่งใน คู คลอง และท่อระบาย ที่เชื่อมเป็นระบบ ไม่ให้เอ่อ เท้อ ขึ้นท่วม การทำความรู้จักไว้บ้าง ก็จะเห็นทางหนีทีไล่ หากเกิดภาวะไม่พึงประสงค์ นองล้น ไล่คนให้ขึ้นไปติดเกาะบนชั้นสองหรือหลังคาบ้าน
กรุงเทพฯ มีคลอง 1,161 คลอง ยาวรวมกัน 2,272 กม. มี คู ลำราง ลำกระโดง 521 แห่ง ถ้ามาต่อกัน ก็ยาวถึง 331 กม. มีท่อระบายน้ำใต้ถนน ซึ่งคนส่วนใหญ่มองไม่เห็นอีก 1,640 กม. เชื่อมโยงกัน วางระบบให้ไหลจากน้ำทิ้งตามบ้าน ลงท่อระบายน้ำ เคลื่อนตัวเป็นทอด ๆ ลงคู และคลองเล็ก ๆ ใกล้ชุมชน ที่เราอาจไม่เคยเหลียวแล สู่คลองหลัก อาทิ คลองแสนแสบ คลองประเวศน์บุรีรมย์ คลองลาดพร้าว คลองพระโขนง ออกแม่น้ำเจ้าพระยา ลงทะเลที่อ่าวไทย
ระบบที่ว่าอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก ไหลจากที่สูงสู่ที่ต่ำ และจะมีประสิทธิภาพหากลำน้ำต่าง ๆ มีที่ว่าง ตรงข้ามถ้าน้ำนองล้นตลิ่ง นอกจากไม่ไปอย่างที่ควร ยังย้อนศร จากแม่น้ำกลับเข้าคลอง แล้วดันโผล่พุ่งตามท่อ
ในกรุงเทพฯ มีระบบป้องกันตัวเอง ไม่รอธรรมชาติ โดยปิดล้อมด้วยประตูน้ำปากคลอง แล้วสูบลงแม่น้ำเจ้าพระยา หน้าแล้ง คลองแห้ง มีน้ำเสีย ก็สูบน้ำดีจากปลายคลองด้านหนึ่ง ไปออกอีกด้าน ทั้งยังมีอุโมงค์สูบน้ำขนาดใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลาง 5 เมตร สูบจากถนนพระรามเก้าไปลงคลองพระโขนง
คลองทุกสายในกรุงเทพฯ มีบทบาทสำคัญต่อการระบายน้ำ ที่เราควรใส่ใจ ทำความรู้จัก และช่วยกันโวยวาย ถ้าเห็นว่าถูกละเลย ปล่อยให้ตื้นเขิน หรือโดนบุกรุก
วิธีจะรู้จักก็ต้องไปเที่ยวชม เพื่อให้สนุกก็ต้องศึกษาประวัติ เรียนรู้ความเป็นมา แสวงหาข้อมูลจากคนพื้นที่
ริมคลองทุกสายมีวิถีชีวิต มีอาชีพ และเรื่องราวน่าสนใจ มีมุมงาม ๆ ให้บันทึกภาพเป็นที่ระลึก
ถ้าไม่รู้จะเริ่มตรงไหน ก็เลือกจากคลองที่คณะรัฐมนตรีมีมติตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2510 กำหนดคลองที่ต้องอนุรักษ์ ในฐานะที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ได้แก่ 1. คลองแสนแสบ 2. คลองเปรมประชากร 3. คลองผดุงกรุงเกษม 4. คลองพระโขนงและคลองประเวศบุรีรมย์ 5. คลองคูเมืองเดิม 6. คลองโอ่งอ่าง 7. คลองหลอด 8. คลองคูเมืองเดิมฝั่งตะวันตก 9. คลองนครบาลหรือคลองวัดแจ้ง 10. คลองแม่น้ำอ้อม 11. คลองบางกอกน้อย 12. คลองบางขุนศรี หรือคลองชักพระ 13. คลองบางกอกใหญ่ หรือคลองบางหลวง 14. คลองภาษีเจริญ 15. คลองมหาสวัสดิ์ 16. คลองมอญ 17. คลองบางระมาด 18. คลองบางยี่ขัน 19. คลองสาน 20. คลองบางไส้ไก่ 21. คลองบางสะแก 22. คลองบางลำภูล่าง 23. คลองต้นไทร 24. คลองด่าน
คลองทุกสาย มีประโยชน์นับแต่อดีต ทางราชการให้ความสำคัญ มีการประกาศใช้ “พระราชบัญญัติรักษาคลอง รัตนโกสินทร์ศก 121” ใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า “มีพระบรมราชโองการ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า การเพาะปลูกก็ดี การค้าขายไปมาก็ดี ในพระราชอาณาเขตนี้ ทางน้ำลำคลองเป็นสำคัญ และในเวลานี้ คลองก็มีอยู่แล้วเป็นอันมาก แต่ชำรุดตื้นเขินไปเสียโดยมาก เหตุเพราะยังมิได้จัดการรักษาให้พอเพียง ทรงพระราชดำริจะบำรุงและรักษาคลองเก่าที่มีอยู่แล้ว และที่จะขุดขึ้นใหม่ให้เรียบร้อยถาวร เพื่อใช้ประโยชน์และสะดวกแก่ธุระของราษฎรยิ่งขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติไว้”
กฎหมายในสมัยนั้น วางหลักที่สำคัญ ห้ามไม่ให้ทิ้งขยะมูลฝอย และสิ่งปฏิกูลลงในคูคลอง ผู้ทำผิดมาตรานี้ จะถูกปรับไม่เกิน 20 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ กับถ้าปล่อยให้สัตว์พาหนะ และสัตว์เลี้ยง เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย ลงคลอง ซึ่งไม่ใช่ท่าข้ามทางการอนุญาต จะต้องถูกปรับเป็นรายตัว ตัวละไม่เกิน 10 บาทเป็นต้น
วันนี้ ถ้าเรารู้จัก รัก ช่วยกันดูแล และหาทางป้องกันมิให้คลองตื้นเขินเสียสภาพไป เรื่องร้าย ๆ คงไม่ท้นท่วมสูงจนอยู่ยากอย่างที่เป็น.
วีระพันธ์ โตมีบุญ
veeraphant@gmail.com
http://twitter.com/vp2650