ข่าวสาร วิทยาศาสตร์ วิจัย นวัตกรรม

วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ดวงตาจราจร งานวิจัยแก้รถติด

ดวงตาจราจร งานวิจัยแก้รถติด
นักวิจัย ม.บูรพา เผยนวัตกรรม”ดวงตาจราจร” รายงานข้อมูลสภาพรถติด คำนวณเวลาการเดินทางในกรุงเทพฯบนมือถือได้เป็นครั้งแรก
            รศ.ดร.ณกร อินทร์พยุง อาจารย์ประจำคณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา เปิดเผยว่าได้ทำโครงการวิจัยดวงตาจราจรหรือทราฟฟิก อายส์ดอตเน็ต(Traffic Eyes.Net) ซึ่งเป็นนวัตกรรมบริการข้อมูลสภาพการจราจรและข้อมูลการเดินทางในกรุงเทพฯผ่านอินเทอร์เน็ต แสดงผลทั้งหน้าจอคอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือ ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าใช้งานได้แล้ว ที่ www. trafficeyes.netหรือร่วมเป็นเครือข่ายที่เว็บไซต์เฟซบุ๊ก www.facebook.com/trafficeyes สามารถดาวน์โหลดแอปป์ใช้บนโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ตโฟน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ยกเว้นค่าเชื่อมต่อ จีพีอาร์เอส ซึ่งจะใช้ได้ดีกับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์
            ข้อมูลสภาพการจราจรและการเดินทาง ได้จากการติดตั้งเซ็นเซอร์อาร์เอฟไอดี 300 จุด และติดตั้งแท็กอาร์เอฟไอดี กับรถแท็กซี่อีก 20,000 คันที่วิ่งบนถนน ประกอบกับข้อมูลการเดินทางบนลิงก์ หรือช่วงการเดินทาง 3,000 จุด ครอบคลุมพื้นที่ 80 เปอร์เซ็นต์ของการเดินทางในกรุงเทพฯ โดยข้อมูลสภาพการเดินทางในเวลานั้น (เรียลไทม์) จะประมวลผลแสดงไว้ในระบบให้ดูได้ทันที นอกจากนี้ยังมีข้อมูลการใช้ทางที่เก็บไว้ในฐานข้อมูลเพื่อวิเคราะห์และคาดการณ์สภาพการจราจรอยู่อีก 300 ล้านข้อมูล โดย รศ.ดร.ณกรกล่าวว่า การรายงานผลมีความแม่นยำราว 85เปอร์เซ็นต์และอีก เดือนข้างหน้า จะนำข้อมูลจากการรายงานสภาพการจราจรของผู้ใช้ทวิตเตอร์ (www.twitter.com)มาประมวลร่วมด้วย
            ในการใช้งาน หากเป็นการเข้าดูเว็บ จะทราบข้อมูลว่า ถนนแต่ละสาย แต่ละช่วงทั้งขาเข้าเมืองและออกนอกเมือง มีสภาพการเดินทางอย่างไร เช่น ถ้าเลือกถนนพระราม 9  ขาเข้าเมือง เวลา 17.45 น. วันที่ สค.54 ช่วงแยกรามคำแหงถึงพระรามติดขัด ความเร็ว กม./ชม. ช่วงจากพระราม 9 (ประดิษฐ์ฯ) - ว่องวานิช  สภาพติดขัด ความเร็ว13 กม./ชม.และสามารถดูรายละเอียดเพิ่มได้ว่า ช่วงเวลาก่อนหน้านั้น มีสภาพอย่างไร และผู้ใช้สามารถกำหนดเส้นทางการเดินทาง เช่นจากบ้านถึงที่ทำงาน จะเลือกถนนสายใด เมื่อคลิกให้ระบบคำนวณ จะแจ้งให้ทราบว่า ในเวลานั้น ถนนแต่ละสายที่จะผ่านมีสภาพการจราจรเป็นอย่างไร และจะถึงจุดหมายภายในเวลากี่นาที  โดยผู้ที่ดาวน์โหลดแอปป์ของโปรแกรมไว้ในโทรศัพท์มือถือ เพียงแต่คลิกเลือกปุ่ม”แจ้งเตือน”ก็จะเห็นข้อมูลสภาพการจราจรในรัศมี กม.ขณะกำลังเดินทาง
            รศ.ดร.ณกร กล่าวว่า ขณะนี้ผู้ที่กำหนดเส้นทางไว้ หากเปลี่ยนเส้นทางระบบจะไม่คำนวณให้ แต่อีกราว เดือนต่อจากนี้จะสามารถประมวลผลข้อมูลเส้นทางที่เปลี่ยนใหม่ในระหว่างเดินทางได้ หรือจะคำนวณล่วงหน้าได้ เช่น จะเดินทางวันพุธ ระบบจะดึงข้อมูลย้อนหลังของวันพุธที่ผ่านมา 30 สัปดาห์เพือวิเคราะห์และคาดการณ์การเดินทางให้
            ข้อมูลดังกล่าวนี้ นอกจาดาวน์โหลดได้บนเว็บแล้ว จะนำไปแสดงในการนำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ 2554 ระหว่างวันที่ 26-30 สค.54 ที่ศูนย์ประชุมบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์  ราชประสงค์  กรุงเทพฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น