ข่าวสาร วิทยาศาสตร์ วิจัย นวัตกรรม

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ฟ้ากว้่าง วันอาทิตย์ ที่ 24 กรกฎาคม 2554

ที่สุด....


เดี๋ยวนี้มีนักถ่ายภาพเยอะ จึงมีภาพ สวย ๆ ให้เห็นทางโซเชียลมีเดียแยะ บางรายเป็นมือใหม่ แต่ก็ขยันหาประสบการณ์ มีผลงานออกมาน่าชื่นใจ จนอยากขอมาทำวอลเปเปอร์อยู่หลายชิ้น
   
เลยอยากเสนอแนะว่า นอกจากอวดบนเว็บไซต์ ควรจะส่งประกวดตามเวทีต่าง ๆ สั่งสมประสบการณ์เพื่อพัฒนาฝีมือให้ยอดเยี่ยมยิ่งขึ้น
   
อย่างงานประกวด ล่าสุด ที่บริษัทออสก้าโฮลดิ้งจำกัด ผู้ผลิตแบตเตอรี่ จัด หัวข้อ “ที่สุด” ซึ่งไม่ได้หมายความว่าสุดท้าย เพราะที่สุดของแต่ละคน แต่ละมุมมองมีความแตกต่าง จึงควรให้เห็นว่า ที่สุดของเราจะเข้าตา ตรงใจกับกรรมการหรือไม่ ที่สำคัญ โครงการนี้สนับสนุนและส่งเสริมผู้ที่เริ่มต้นหรือมือใหม่ ได้นำเสนอผลงาน แนวคิด และจินตนาการของตนเอง ผ่านการประกวดนี่แหละ
   
ไปหาข้อมูลเพิ่มเติมและลงทะเบียนได้ที่ www.oskacsr.com/component/user/registe
   
ที่ผมชักชวนส่งภาพประกวด โดยเฉพาะคนที่กำลังพัฒนาฝีมือ ส่วนหนึ่งเพราะได้ลองแคนนอน 1100 ดี ที่บริษัทส่งมาทดสอบ แล้วพบว่าเป็นกล้อง DSLR ถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ ที่เหมาะมือ ใช้ง่าย ให้ผลงานที่น่าประทับใจ ไม่แพ้รุ่นที่แพงเหนือกว่า ความละเอียด 12.2 ล้านพิกเซล เซ็นเซอร์รับภาพแบบซีมอส ขนาด 22.2x14.8 มม. ตัวกล้องพร้อมชุดเลนส์ อีเอฟเอส 18–55 มม.ไอเอสทู (EFS 18-55 IS II) ตั้งราคาไว้ 19,900 บาท
      
คนเริ่มต้นที่เปลี่ยนจากคอมแพ็กมาเป็นกล้องที่เล็งภาพผ่านเลนส์ ซึ่งขีดความสามารถเหนือกว่า ที่ยังไม่คุ้นกับการปรับตั้ง แบบแมนน่วล ก็ไม่มีปัญหา คว้ามาเปิดสวิตช์ก็กดชัตเตอร์เก็บภาพได้ภายใน 0.1 วินาที ถ้าเลือกโปรแกรม P และอัตโนมัติ ก็กดชัตเตอร์อย่างเดียว กล้องจะทำให้ทุกอย่าง หากจะหัดเล่นกับแสงกับความไวชัตเตอร์ ก็เลือกทีละอย่าง ที่เหลือปล่อยกล้องคำนวณให้ก็สะดวก หรือถนัดกับการเล็งภาพจากจอด้านหลังขนาด 2.7 นิ้ว ก็มีระบบไลฟ์วิวให้เลือก
   
กล้องออกแบบสวยงาม บอดี้และสายคล้องมีสี่สีให้เลือก ได้แก่แดง น้ำตาล เทา และ ดำ
   
คุณสุภาพสตรีที่อยากใช้กล้องประเภทนี้น่าจะชอบ เพราะน้ำหนักแค่ 495 กรัม รูปร่างก็ไม่เทอะทะ มือเล็ก ๆ ข้างเดียวก็ฉวยจับ บังคับได้ ปุ่มควบคุมทั้งปวง แป้นหมุนเลือกโหมดก็รวมอยู่ซีกขวา ขยับนิ้วไปปรับได้ทันใจ อยากใช้โหมดอัตโนมัติสำหรับถ่ายภาพแต่ละชนิด เช่น ภาพบุคคล ภาพวิว ภาพดอกไม้ ก็เลื่อนได้ทันที สำหรับมือโปรที่ต้องการกล้องสำรอง น้ำหนักเบา แต่ไว้ใจได้ว่ากดชัตเตอร์แล้วไม่เสียเปล่าก็ควรเลือก
   
ค่าความไวแสงหรือไอเอสโอ ถึง 6400 เหมาะกับการถ่ายภาพกลางคืนที่แสงน้อย ความเร็วชัตเตอร์สูงสุด 1/4000 ระบบวัดแสง 63 จุด ถ่ายภาพต่อเนื่องด้วยความเร็ว 3 เฟรมต่อวินาทีได้ กดค้างให้บันทึกภาพได้นานอย่างที่ต้องการ
   
นักถ่ายภาพที่ชอบความง่าย ถามหาแต่กล้องที่ยกขึ้นมากดชัตเตอร์ก็ได้ภาพ ไม่อยากปรับตั้งสักอย่าง แคนนอน1100ดี ตอบโจทย์นี้ได้ แต่ไม่ควรยึดเป็นสรณะ เพราะบางสถานการณ์ เช่น การถ่ายภาพกีฬาตอนกลางคืนที่แสงน้อย จะจับภาพความเคลื่อนไหวที่ฉับไวได้ยาก ทางที่ดีจึงหาโอกาสฝึกพัฒนาความสามารถกับระบบปรับตั้งบ่อย ๆ
   
ก็จะถ่ายภาพส่งประกวด ขืนมัวพึ่งแต่ระบบอัตโนมัติ จะหวังรางวัลอย่างไร ก็ถ้ากล้องทำได้ดีเองไม่ต้องรอคนถ่าย คณะกรรมการจัดงานคงให้คะแนนกับผู้ผลิต ไม่ต้องมาเสียเวลาตัดสินภาพของใคร
   
ในการทดสอบกับการแข่งกีฬาตะกร้อในสนามระดับชุมชนที่แสงสว่างไม่เท่าสนามมาตรฐาน ก็เป็นดังคาดหมาย โหมดอัตโนมัติภาพออกมาสั่นไหว แต่เมื่อปรับตั้งใช้ไอเอสโอสูงสุด 6400 ความเร็วชัตเตอร์ 200 ไม่ใช้ขาตั้ง ภาพออกมาได้ความชัดเจน ไม่สั่น ระบบป้องกันภาพไหวทำงานได้มีประสิทธิภาพ
   
กล้องสำหรับผู้เริ่มต้น ราคาไล่เลี่ยกับกล้องคอมแพ็ก ให้ผลลัพธ์ขนาดนี้ ถือว่ารับได้
   
เอาภาพไปอวดใคร ส่งประกวดที่ไหนก็มีคำชม

ที่สุดจริง ๆ.

วีระพันธ์ โตมีบุญ

VeeraphanT@Gmail.com

http://teitter.com/vp2605

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น