แผ่นเนื้อเยื่อปิดแผล ผลงานของ รศ. เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นชิ้นงานที่แสดงถึงสามารถของนักวิจัยไทย ที่ยืนอยู่ระดับแถวหน้าในวงการวิจัยนานาชาติ เพราะเป็นรายแรกของโลกที่นำเซซิรีน หรือโปรตีนจากกาวไหมมากระตุ้นให้เนื้อเยื่อได้
กาวไหม คือ น้ำเหลือทิ้งจากการต้มรังไหม?
คำอธิบายสำหรับแผ่นเนื้อเยื่อปิดแผล ให้นึกถึงพลาสเตอร์ที่ใช้ปิดกั้นกันเชื้อโรคเข้าไปในแผล ระหว่างที่ร่างกายสร้างเนื้อเยื่อทดแทน ซึ่งต้องใช้เวลานานพอควรแม้ในแผลเล็กๆ แต่แผ่นเนื้อเยื่อปิดแผลของ ดร.พรอนงค์ มีคุณสมบัติที่แตกต่าง ช่วยให้หายเร็ว เมื่อเทียบกับพลาสเตอร์ทั่วไปหรือแผ่นปิดแผลชั้นดีที่ขายในท้องตลาด ไม่ทำให้เกิดการแพ้หรือระคายเคือง สร้างหลอดเลือดเพิ่ม (neovascularization) และเพิ่มคอลลาเจนในบาดแผล ทำหน้าที่กระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อ แผลจึงหายเร็ว ทำให้เซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบน้อยกว่าการใช้พลาสเตอร์ทั่วไป โอกาสเกิดแผลเป็นก็ต่ำกว่า
ในกรณีแผลขนาดใหญ่ไฟไหม้ เนื้อเยื่อ ผิวหนัง เสียหายเป็นบริเวณกว้าง ร่างกายสร้างเนื้อเยื่อได้ยาก การรักษาต้องกรีดหรือตัดเนื้อเยื่อจากร่างกายส่วนอื่น เช่นที่แก้มก้นไปปลูกหรือสร้างทดแทน ทำให้ผู้ป่วยมีแผลเพิ่ม เพื่อรักษาแผลไฟไหม้ เสี่ยงต่อปัญหาอื่นเช่นการติดเชื้อและการบาดเจ็บ ลักษณะนี้ แผ่นเนื้อเยื่อปิดแผลจากกาวไหมของ ดร.พรอนงค์ ลดความยุ่งยากนั้น เพราะตัดการติดเชื้อได้เนื่องจากไม่ต้องเปิดแผลใหม่สร้างเนื้อเยื่อ แผ่นปิดแผลติดแล้วก็ไม่ต้องลอกออก ปิดครั้งเดียว จากนั้นกระบวนการสร้างเนื้อเยื่อจะขึ้นมาทดแทนและโปรตีนกาวไหมจะละลายไปเองใน 21 วัน
ผู้ได้รับบาดเจ็บไฟลวกเป็นบริเวณกว้างถึง 60% จากเหตุเพลิงไหม้สถานบันเทิงชื่อดังแห่งหนึ่ง นำไปใช้ พบว่าได้ผลดี จากการทดลองกับหนู พบว่า แผลหายเร็วในเวลาเท่ากัน การทดลองโดยติดกับผิวหนังอาสาสมัคร ซึ่งเป็นบุคคลทั่วไปที่ไม่มีแผล 112 คน เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ไม่พบการแพ้ และทดลองกับคนไข้ที่มีบาดแผลจริง 70 ราย ก็ได้ผลดีจริง ตามคุณสมบัติและตรงตามความคาดหมาย
แผ่นเนื้อเยื่อปิดแผลจากกาวไหม เป็นงานวิจัย ที่ ดร.พรอนงค์ นำเอาคุณสมบัติของโปรตีนกาวไหม ที่มีเซริซีน (sericin) ตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นกดอะมิโนสำคัญต่อร่างกาย ที่มีปริมาณสูงถึง 30% ทำให้แข็งตัวเป็นเจล แข็งแรงและยืดหยุ่นได้ตามอุณหภูมิการผลิตและสารประกอบร่วม มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ดูดซึมน้ำได้ดี จึงทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น ใช้ปิดแผลก็เจ็บปวดน้อยลง ที่สำคัญเซริซีนยังกระตุ้นการสร้าง เซลล์ไปพร้อมกับเพิ่มการยึดเกาะตัวกัน อันเป็นตัวการช่วยสร้างเนื้อเยื่อของมนุษย์ได้ การทดลองในหนูยังพบว่า ช่วยเพิ่มคอลลาเจน ไปกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อให้แผลหายเร็วขึ้น
ถึงจะมีบทสรุปความสำเร็จด้วยดี ดร. พรอนงค์ยังคงต่อยอดงานวิจัยให้มีประสิทธิภาพขึ้นไปอีก ตั้งแต่การคัดเลือกสายพันธุ์ไหมไทยที่เหมาะสม และพบว่า สายพันธุ์จุล 1/1 มีคุณภาพที่สุด กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนได้ดี แต่ลำพังโปรตีนกาวไหมอย่างเดียว เอามาใช้ทันทีไม่ได้ ต้องผสมกับโพลิเมอร์โพลีไวนีล แอลกอฮอล์ และผ่านกระบวนการฟรีซ-ดรายอิง หรือการทำให้เกิดการระเหิดด้วยความเย็น เพื่อรักษาคุณสมบัติสำคัญของโปรตีน และแม้แผ่นเนื้อเยื่อที่ได้จะเป็นไปตามต้องการ มีความคงตัวดี แต่มีข้อด้อยตรงละลายน้ำได้ง่าย จึงต้องนำกระบวนการเชื่อมโยงข้าม โดยแช่แผ่นเนื้อเยื่อปิดแผลโปรตีนกาวไหมในแอลกอฮอล์ที่ความเข้มข้นหลายระดับ และที่สุดพบว่าความเข้ม 70 – 80 เปอร์เซ็นต์เหมาะมากที่สุด ได้แผ่นเรียบเนียนสม่ำเสมอ ความคงตัวและยืดหยุ่นดี มีรูพรุนพอเหมาะ ปลดปล่อยโปรตีนในระดับที่กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนได้
สิ่งที่ ดร.พรอนงค์ต้องใส่ใจให้ความสำคัญลำดับถัดมา ก็คือ ต้องทำให้แผ่นเนื้อเยื่อปิดแผลต้องเปียกชื้นตลอดเวลา เพราะถ้าขาดคุณสมบัตินี้ จะทำให้แผ่นเนื้อเยื่อหดตัว ไม่เรียบเนียน ระคายเคืองกับแผลได้
นอกจากนี้ ยังได้ทดลองใช่สารสกัดจากดอกพุด ที่เรียกเจเนพิน (genepin) มาเป็นสารเชื่อมโยงข้ามทางเคมี ก็ได้ผลดีเช่นเดียวกับแอลกอฮอล์ ทั้งๆที่เป็นของแห้ง ไม่จำเป็นต้องทำให้เปียกชื้นการคิดค้นวิจัยจนได้พบความวิเศษของโปรตีนจากกาวไหม เพื่อให้ได้แผ่นเนื้อเยื่อปิดแผลดังกล่าวนี้ นอกจากประโยชน์โดยตรงกับผู้ป่วยที่มีบาดแผล ใช้ได้ตั้งแต่แผลเล็กสุดขนาด 3x3 ซม.จนถึงขนาด 60 เปอร์เซ็นต์ของเนื้อที่ร่างกาย ยังจะช่วยประหยัดงบประมาณและค่าใช้จ่ายในการนำเข้าพลาสเตอร์ปิดแผล โดยรายงานของบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านอุปกรณ์ตกแต่งและรักษาบาดแผลระบุว่าในปี 2550 ประเทศไทย นำเข้าอุปกรณ์ปิดแผลถึง 400 ล้านบาท ไม่นับการนำเข้าผิวหนังเทียมจากประเทศญี่ปุ่น แผ่นละ 7,000 บาท ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย
ดร.พรอนงค์เปิดเผยว่า ต้นทุนการผลิตแผ่นเนื้อเยื่อปิดแผลกาวไหม แผ่นละ 250 บาท หรือคิดเป็น 3.6 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งถ้านำมาใช้อย่างจริงจังจะลดรายจ่ายโดยรวมของประเทศลงมิใช่น้อย
ผลพลอยได้อีกทางหนึ่งก็คือ จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กาวไหม ซึ่งเป็นของเหลือใช้ทางการเกษตร ให้กับแวดวงอุตสาหกรรมไหมไทยได้อีกด้วย
งานวิจัยชิ้นนี้ ได้จดสิทธิบัตรทั้งในประเทศและต่างประเทศ เผยแพร่ในวารสารทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ต่างประเทศ ทั้งยังมีบริษัทเอกชนจากต่างประเทศ เสนอขอซื้อสิทธิบัตรเพื่อนำผลิตจำหน่ายแล้ว ผลงานนี้ จะร่วมแสดงในการนำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ 2554 ระหว่างวันที่ 26 -30 ส.ค.นี้ ที่ศูนย์ประชุมบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ ราชประสงค์ กรุงเทพฯ สำหรับประชาชนที่สนใจ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หาได้จากงานนี้ หรือปรึกษาแพทย์ที่ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ บอกว่า เมืองไทยมีทรัพยากรที่ทรงคุณค่า มีนักวิจัยที่สามารถ พร้อมจะสรรค์สร้างสิ่งใหม่ให้สังคมโลกยอมรับ
จึงต้องช่วยกันส่งเสริมให้มีแรงบันดาลใจต่อยอดไปโดยไม่หยุดนิ่ง
วีระพันธ์ โตมีบุญ
VeeraphanT@Gmail.com
http://twitter.com/vp2650
กาวไหม คือ น้ำเหลือทิ้งจากการต้มรังไหม?
คำอธิบายสำหรับแผ่นเนื้อเยื่อปิดแผล ให้นึกถึงพลาสเตอร์ที่ใช้ปิดกั้นกันเชื้อโรคเข้าไปในแผล ระหว่างที่ร่างกายสร้างเนื้อเยื่อทดแทน ซึ่งต้องใช้เวลานานพอควรแม้ในแผลเล็กๆ แต่แผ่นเนื้อเยื่อปิดแผลของ ดร.พรอนงค์ มีคุณสมบัติที่แตกต่าง ช่วยให้หายเร็ว เมื่อเทียบกับพลาสเตอร์ทั่วไปหรือแผ่นปิดแผลชั้นดีที่ขายในท้องตลาด ไม่ทำให้เกิดการแพ้หรือระคายเคือง สร้างหลอดเลือดเพิ่ม (neovascularization) และเพิ่มคอลลาเจนในบาดแผล ทำหน้าที่กระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อ แผลจึงหายเร็ว ทำให้เซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบน้อยกว่าการใช้พลาสเตอร์ทั่วไป โอกาสเกิดแผลเป็นก็ต่ำกว่า
ในกรณีแผลขนาดใหญ่ไฟไหม้ เนื้อเยื่อ ผิวหนัง เสียหายเป็นบริเวณกว้าง ร่างกายสร้างเนื้อเยื่อได้ยาก การรักษาต้องกรีดหรือตัดเนื้อเยื่อจากร่างกายส่วนอื่น เช่นที่แก้มก้นไปปลูกหรือสร้างทดแทน ทำให้ผู้ป่วยมีแผลเพิ่ม เพื่อรักษาแผลไฟไหม้ เสี่ยงต่อปัญหาอื่นเช่นการติดเชื้อและการบาดเจ็บ ลักษณะนี้ แผ่นเนื้อเยื่อปิดแผลจากกาวไหมของ ดร.พรอนงค์ ลดความยุ่งยากนั้น เพราะตัดการติดเชื้อได้เนื่องจากไม่ต้องเปิดแผลใหม่สร้างเนื้อเยื่อ แผ่นปิดแผลติดแล้วก็ไม่ต้องลอกออก ปิดครั้งเดียว จากนั้นกระบวนการสร้างเนื้อเยื่อจะขึ้นมาทดแทนและโปรตีนกาวไหมจะละลายไปเองใน 21 วัน
ผู้ได้รับบาดเจ็บไฟลวกเป็นบริเวณกว้างถึง 60% จากเหตุเพลิงไหม้สถานบันเทิงชื่อดังแห่งหนึ่ง นำไปใช้ พบว่าได้ผลดี จากการทดลองกับหนู พบว่า แผลหายเร็วในเวลาเท่ากัน การทดลองโดยติดกับผิวหนังอาสาสมัคร ซึ่งเป็นบุคคลทั่วไปที่ไม่มีแผล 112 คน เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ไม่พบการแพ้ และทดลองกับคนไข้ที่มีบาดแผลจริง 70 ราย ก็ได้ผลดีจริง ตามคุณสมบัติและตรงตามความคาดหมาย
แผ่นเนื้อเยื่อปิดแผลจากกาวไหม เป็นงานวิจัย ที่ ดร.พรอนงค์ นำเอาคุณสมบัติของโปรตีนกาวไหม ที่มีเซริซีน (sericin) ตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นกดอะมิโนสำคัญต่อร่างกาย ที่มีปริมาณสูงถึง 30% ทำให้แข็งตัวเป็นเจล แข็งแรงและยืดหยุ่นได้ตามอุณหภูมิการผลิตและสารประกอบร่วม มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ดูดซึมน้ำได้ดี จึงทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น ใช้ปิดแผลก็เจ็บปวดน้อยลง ที่สำคัญเซริซีนยังกระตุ้นการสร้าง เซลล์ไปพร้อมกับเพิ่มการยึดเกาะตัวกัน อันเป็นตัวการช่วยสร้างเนื้อเยื่อของมนุษย์ได้ การทดลองในหนูยังพบว่า ช่วยเพิ่มคอลลาเจน ไปกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อให้แผลหายเร็วขึ้น
ถึงจะมีบทสรุปความสำเร็จด้วยดี ดร. พรอนงค์ยังคงต่อยอดงานวิจัยให้มีประสิทธิภาพขึ้นไปอีก ตั้งแต่การคัดเลือกสายพันธุ์ไหมไทยที่เหมาะสม และพบว่า สายพันธุ์จุล 1/1 มีคุณภาพที่สุด กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนได้ดี แต่ลำพังโปรตีนกาวไหมอย่างเดียว เอามาใช้ทันทีไม่ได้ ต้องผสมกับโพลิเมอร์โพลีไวนีล แอลกอฮอล์ และผ่านกระบวนการฟรีซ-ดรายอิง หรือการทำให้เกิดการระเหิดด้วยความเย็น เพื่อรักษาคุณสมบัติสำคัญของโปรตีน และแม้แผ่นเนื้อเยื่อที่ได้จะเป็นไปตามต้องการ มีความคงตัวดี แต่มีข้อด้อยตรงละลายน้ำได้ง่าย จึงต้องนำกระบวนการเชื่อมโยงข้าม โดยแช่แผ่นเนื้อเยื่อปิดแผลโปรตีนกาวไหมในแอลกอฮอล์ที่ความเข้มข้นหลายระดับ และที่สุดพบว่าความเข้ม 70 – 80 เปอร์เซ็นต์เหมาะมากที่สุด ได้แผ่นเรียบเนียนสม่ำเสมอ ความคงตัวและยืดหยุ่นดี มีรูพรุนพอเหมาะ ปลดปล่อยโปรตีนในระดับที่กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนได้
สิ่งที่ ดร.พรอนงค์ต้องใส่ใจให้ความสำคัญลำดับถัดมา ก็คือ ต้องทำให้แผ่นเนื้อเยื่อปิดแผลต้องเปียกชื้นตลอดเวลา เพราะถ้าขาดคุณสมบัตินี้ จะทำให้แผ่นเนื้อเยื่อหดตัว ไม่เรียบเนียน ระคายเคืองกับแผลได้
นอกจากนี้ ยังได้ทดลองใช่สารสกัดจากดอกพุด ที่เรียกเจเนพิน (genepin) มาเป็นสารเชื่อมโยงข้ามทางเคมี ก็ได้ผลดีเช่นเดียวกับแอลกอฮอล์ ทั้งๆที่เป็นของแห้ง ไม่จำเป็นต้องทำให้เปียกชื้นการคิดค้นวิจัยจนได้พบความวิเศษของโปรตีนจากกาวไหม เพื่อให้ได้แผ่นเนื้อเยื่อปิดแผลดังกล่าวนี้ นอกจากประโยชน์โดยตรงกับผู้ป่วยที่มีบาดแผล ใช้ได้ตั้งแต่แผลเล็กสุดขนาด 3x3 ซม.จนถึงขนาด 60 เปอร์เซ็นต์ของเนื้อที่ร่างกาย ยังจะช่วยประหยัดงบประมาณและค่าใช้จ่ายในการนำเข้าพลาสเตอร์ปิดแผล โดยรายงานของบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านอุปกรณ์ตกแต่งและรักษาบาดแผลระบุว่าในปี 2550 ประเทศไทย นำเข้าอุปกรณ์ปิดแผลถึง 400 ล้านบาท ไม่นับการนำเข้าผิวหนังเทียมจากประเทศญี่ปุ่น แผ่นละ 7,000 บาท ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย
ดร.พรอนงค์เปิดเผยว่า ต้นทุนการผลิตแผ่นเนื้อเยื่อปิดแผลกาวไหม แผ่นละ 250 บาท หรือคิดเป็น 3.6 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งถ้านำมาใช้อย่างจริงจังจะลดรายจ่ายโดยรวมของประเทศลงมิใช่น้อย
ผลพลอยได้อีกทางหนึ่งก็คือ จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กาวไหม ซึ่งเป็นของเหลือใช้ทางการเกษตร ให้กับแวดวงอุตสาหกรรมไหมไทยได้อีกด้วย
งานวิจัยชิ้นนี้ ได้จดสิทธิบัตรทั้งในประเทศและต่างประเทศ เผยแพร่ในวารสารทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ต่างประเทศ ทั้งยังมีบริษัทเอกชนจากต่างประเทศ เสนอขอซื้อสิทธิบัตรเพื่อนำผลิตจำหน่ายแล้ว ผลงานนี้ จะร่วมแสดงในการนำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ 2554 ระหว่างวันที่ 26 -30 ส.ค.นี้ ที่ศูนย์ประชุมบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ ราชประสงค์ กรุงเทพฯ สำหรับประชาชนที่สนใจ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หาได้จากงานนี้ หรือปรึกษาแพทย์ที่ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ บอกว่า เมืองไทยมีทรัพยากรที่ทรงคุณค่า มีนักวิจัยที่สามารถ พร้อมจะสรรค์สร้างสิ่งใหม่ให้สังคมโลกยอมรับ
จึงต้องช่วยกันส่งเสริมให้มีแรงบันดาลใจต่อยอดไปโดยไม่หยุดนิ่ง
วีระพันธ์ โตมีบุญ
VeeraphanT@Gmail.com
http://twitter.com/vp2650