ข่าวสาร วิทยาศาสตร์ วิจัย นวัตกรรม

วันจันทร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

วิจัยยกระดับเครื่องแกง!!

 วิจัยยกระดับเครื่องแกง!!

ผลงานวิศวกรสังคม ราชภัฏนครศรี

วิศวกรสังคม ราชภัฏนครศรีธรรมราช อวดผลงานยกระดับพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องแกงนบพิตำ และสร้างเครือข่ายพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

    ผศ.ดร. พีระพงศ์ สุจริตพันธ์ หัวหน้าโครงการวิจัยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยทักษะกระบวนการวิศวกรสังคมเพื่อนำความรู้มาพัฒนาเชิงพื้นที่  เปิดเผยว่า วิศวกรสังคมของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ได้ร่วมสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน ผลิตภัณฑ์ชุมชนกลุ่มเครื่องแกงตำบลนบพิตำ อำเภอนบพิตำ และการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนให้เป็นที่รู้จัก สร้างเครือข่ายการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นด้วยวิจัยและนวัตกรรม ตามปรัชญาของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช โดยพื้นที่ดำเนินการของนักวิจัยและนักศึกษาวิศวกรสังคมอยู่ที่บ้านเขาเหล็ก ตำบลนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช ด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมสนทนากลุ่มกับกลุ่มวิสาหกิจเครื่องแกงและเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการดำเนินกิจกรรม ได้แก่ 1 เครือข่ายกลุ่มเครื่องแกง  2.เครือข่ายกลุ่มเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ได้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น ผู้ใหญ่บ้าน

ข่าวแจ้งด้วยว่า นอกจากนี้ โครงการที่วิศวกรสังคมร่วมดำเนินการกับเครือข่ายชุมชน ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์ อาทิ เครื่องแกงตำมือ ไม้กวาดดอกหญ้า กล้วยฉาบรสต่าง ๆ ปลาดุกไสอวน ผ้ามัดย้อม แกงไตปลาอื้อ(อาหารพื้นถิ่น) ขนมพื้นถิ่น  กลุ่มการท่องเที่ยว  เป็นการแนะนำพื้นที่วัดภูเขาเหล็ก ต.นบพิตำ อ.นบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช การทำผ้ามัดย้อมดินเหมืองแร่ โคก หนอง นา โมเดล และการทำสปาทราย


    ด้าน ผศ.ดร. ดำรงค์พันธ์ ใจห้าว วีระพงศ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช กล่าวว่า มหาวิทยาลัยฯ โครงการวิศวกรสังคม ที่ได้รับการสนับสนุนจาก วช.มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นอย่างเข้มข้น  โดยการสร้างกระบวนการคิดและการทำงานที่เป็นระบบของนักศึกษา พัฒนาพื้นที่ทั้งโซนป่า โซนเขา โซนนา และโซนทะเล ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ได้พัฒนาชุมชนหลากหลาย และได้ผลการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพเป็นที่ประจักษ์ชัด
ทั้งนี้ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผอ.สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวระหว่างการติดตามงานโครงการบ่มเพาะวิศวกรสังคมของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชเมื่อเร็วๆนี้  ว่าได้สนับสนุนทุนวิจัย
แก่มหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่งทั่วประเทศ เพื่อบ่มเพาะวิศวกรสังคมด้วยกระบวนการวิจัยและนวัตกรรม ในการแก้ปัญหาเชิงพื้นที่ ตามแนวทางกระบวนการ “วิศวกรสังคม”  โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช เลือกการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยร่วมกันพัฒนาโจทย์และปฏิบัติงานร่วมกับท้องถิ่นอย่างมีส่วนร่วม เป็นต้นแบบที่ดีในการพัฒนาชุมชนในพื้นที่ให้เกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนต่อไป






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น