WHO ถอดรหัส COVID-19
รายงานฉบับแรกจากอู่ฮั่น
ข่าวการระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 ที่องค์การอนามัยโลกกำหนดชื่อ โควิด-19 (COVID-19) เป็นที่รับรู้ของชาวโลก
จากการพบผู้ป่วยที่ทวีจำนวนขึ้นอย่างน่าตกใจ ที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ประเทศจีน
เมื่อต้นดือน มค.63 และลามอีกหลายประเทศ จากไทย ไปเกาหลี ญี่ปุ่น
อิหร่าน ยันอิตาลี ในช่วงเวลาเพียง 8 สัปดาห์
แม้ทางการจีนมีท่าทีจะดีขึ้น เมื่อถึงสัปดาห์แรกของเดือนมีนาคม
แต่ปรากฏว่าศูนย์กลางการระบาดกลับย้ายไปอยู่ประเทศอื่น ต่างทวีปเสียแล้ว
สถานการณ์ที่เกิดก่อความสับสนวุ่นวายไปทั่ว
ใช่เฉพาะแต่ดินแดนแรกของการระบาด ประเทศอื่นต่างก็เฝ้าระวังเคร่งครัด องค์การอนามัยโลก(World Health Organization) ซึ่งมีหน้าที่ประสานความร่วมมือกับนานาประเทศ
เพื่อส่งเสริมสุขอนามัยของทุกคน ได้จัดส่งทีมงาน ประกอบด้วยตัวแทนแพทย์จาก 8 ประเทศ รวมทั้งประเทศจีน จำนวน 25 คน
เดินทางเข้าไปยังเมืองอู่ฮั่น ต้นทางการระบาดและแหล่งอื่นๆ
เพื่อติดตามสอบสวนสาเหตุของโรค
ดร.แดเนียล
เคอร์เตสซ์ ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย
กล่าวระหว่างการเสวนาที่สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กรุงเทพ ผ่านระบบออนไลน์
เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เมื่อวันที่ 5 มีค.63 ว่า
คณะแพทย์ตัวแทนองค์การอนามัยโลกทั้งหมดร่วมการติดตาม สอบสวน
อาการผู้ป่วยทั้งประเภทรุนแรง ธรรมดา และที่เสียชีวิต ศึกษาระบบการป้องกันการติดเชื้อว่ามีประสิทธิภาพเพียงใด
โดยผู้เชี่ยวชาญขององค์การอนามัยโลกจะช่วยเสนอแนะเพิ่มเติมด้วย
ศ.นพ.สิริฤกษ์
ศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ทำหน้าที่
ผอ.สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.)
กล่าวสรุปรายงานจากที่มีกว่า40หน้าว่า รายงานนี้ เป็นรายงานชิ้นแรกจากพื้นที่ เพิ่งทำเสร็จเมื่อ 28
กพ.63 โดยเป็นการลงตรวจสอบ
พบผู้ปฏิบัติงานจริงใน 4 มณฑล ได้แก่ ปักกิ่ง เสินเจิน
กวางโจ และอู่ฮั่น มีข้อมูลว่าที่ประเทศจีน มีโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยอาการหนัก 9
แห่ง ที่ดูแลเฉพาะผู้ป่วยโควิด-19 มี36แห่ง การดูแลในช่วงแรก ปลายเดือน ม.ค.63 มีผู้ติดเชื้อมากจนน่าตกใจ
มีอัตราการเพิ่มหลายพันคน แต่เมื่อปฏิบัติไปก็มองเห็นแสงสว่าง
การศึกษาว่าไวรัสมาจากไหน
นักวิทยาศาสตร์ ทำการแยกเชื้อได้ภายใน 1 สัปดาห์ การเลี้ยงเชื้อ
พบว่าเป็นไวรัสโคโรน่าคล้ายที่พบในสัตว์ที่ใกล้เคียงกับพันธุกรรมของค้างคาวถึง 96%
และจากการถอดรหัสพันธุกรรมของเชื้อจากผู้ป่วย 104 รายการ พบยังไม่มีการกลายพันธุ์
โดยยืนยันจากการตรวจพันธุกรรมคล้ายกันมากกว่า 99%
การชันสูตร เสียชีวิต พบว่า
ผู้สูงอายุมีอัตราการตายสูงกว่ากลุ่ม อื่น โดยคนอายุ50 ปีขึ้นไป มีลักษณะพยาธิสภาพปอดอักเสบ
รายงานดังกล่าว ระบุว่า ในจำนวนผู้ติดเชื้อ ราว 80% ไม่แสดงอาการ ที่มีอาการเล็กน้อย
และหายไปเอง 14% กลุ่มที่ป่วยหนักมี 6% ซึ่งต้องเข้ารับการดูแลในหอผู้ป่วยหนัก (ไอซียู)
ในจำนวนนี้จะเสียชีวิตราว 1ใน 3 หรือ 2
ใน 3
อย่างไรก็ตาม สัดส่วนผู้เสียชีวิตเมื่อเทียบกับผู้ป่วยทั้งหมด
ราว 0.7%
สำหรับผู้ติดเชื้อ จำแนกตามกลุ่ม พบว่า
เด็กจะติดเชื้อต่ำที่สุด ในรายที่ติดเชื้ออาการก็ไม่รุนแรง ส่วนหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งกังวลกันว่าจะเป็นกลุ่มเสี่ยงสูง
กลับมีระดับความเสี่ยงในระดับพอๆกับคนทั่วไป
ในด้านความเสี่ยงของบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วย
พบว่าที่มณฑลกวางตุ้ง มีเจ้าหน้าที่ 1,800 ทีม ดูแลผู้ป่วยทีละคน รวม320,000
คน มีสัดส่วนการติดเชื้อ 1.5%
ส่วนที่มณฑลเสฉวน มีสัดส่วนการติดเชื้อ 0.9% การรับมือกับการระบาดครั้งนี้
จีนใช้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ถึง 400,000 คน ในจำนวนนี้ กลายเป็นผู้ติดเชื้อ
2,055 คน จาก 476 โรงพยาบาลทั่วประเทศ ส่วนการที่มีข่าวแพทย์และบุคลากรป่วยถึงเสียชีวิต
เพราะในช่วงต้นยังขาดความพร้อมด้านอุปกรณ์
กับข้อสงสัยที่ว่า ไวรัสโควิด-19 เกิดขึ้นก่อนหน้านี้เป็นเวลานาน แต่ไม่เป็นที่รับรู้หรือไม่ ศ.นพ.สิริฤกษ์
กล่าวว่า การศึกษารายละเอียดของการอาการป่วยเทียบเคียงกับรายอื่น ๆพบว่า ผู้ป่วยไวรัส
โควิด-19เข้ารับการรักษาและยืนยัน เมื่อวันที่ 30-31ธค.62 เมื่อนำข้อมูลการตรวจเชื้อย้อนหลัง
พบรายแรกวันที่ 8 ธค.62 ส่วนในทางคลินิกพบรายแรกวันที่
2 ธค.62 จึงเป็นไปได้ว่า การพบเชื้อและการระบาดเกิดขึ้นในช่วงนี้
ส่วนอาการของผู้ป่วยจากเชื้อไวรัสโควิด-19 เกือบทุกรายมีไข้ อีกราว 2 ใน 3 มีอาการไอแห้งๆ
การถอดรหัสข้อมูลการระบาดของไวรัสโควิด-19 ถึงแหล่งต้นตอที่ประเทศจีน ของตัวแทนองค์การอนามัยโลก ทำให้เกิดองค์ความรู้ถึงสาเหตุและการจัดการอย่างรอบด้าน
จึงมีคำแนะนำ ที่ทุกคนมีส่วนร่วมระวัง ป้องกันได้ ได้แก่
1.ตระหนักแต่ไม่ตระหนก
2.ดูแลสุขภาพอนามัยตนเอง ด้วยการกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ
สวมหน้ากากอนามัยหากมีความเสี่ยง
3.เฝ่าระวังสังเกตุอาการตนเอง
มีไข้ให้พบแพทย์ หรือรายงานแพทย์เมื่อเดินทางออกจากพื้นที่เสี่ยง
4.สนับสนุนและทำตามมาตรการที่อาจนำมาใช้เมื่อเกิดการระบาด
เพียงเท่านี้
ก็น่าจะเอาอยู่ สู้ไหว นะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น