ข่าวสาร วิทยาศาสตร์ วิจัย นวัตกรรม

วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2563

รถเข็นสูบน้ำพลังแสงอาทิตย์ นวัตกรรมสู้ภัยแล้ง


เปิดตัวผลงานวิจัย ราชภัฏสกลนคร พัฒนาเครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ติดตั้งบนรถเข็น ให้เคลื่อนที่ไปปั๊มน้ำได้ทุกที่ ถึงชม.ละ2,000ลิตร



         ในการเปิดตัวโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งกลุ่มมวลชน ยกระดับความเข้มแข็งของชุมชนด้วยวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ของ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน(กอ.รมน.)ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.) ที่ ต.บ้านพราน อ.แสวงหา จ.อ่างทอง เมื่อวันที่ 7มี.ค.63  ผลงานนวัตกรรมหนึ่งที่ไปถ่ายทอดและส่งมอบให้กับชุมชน 18 แห่งในพื้นที่ 13 จังหวัด เป็นเครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งคิดค้น จัดทำโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จ.สกลนคร
         ผศ.ก้องภพ ชาอามาตย์ อาจารย์ สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งนำคณะไปร่วมถ่ายทอดนวัตกรรมเครื่องสูบน้ำพลังแสงอาทิตย์ กล่าวว่า เป็นการจัดทำขึ้นเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ขาดแคลนแหล่งน้ำ หรือมีแหล่งน้ำแต่ไม่มีไฟฟ้าใช้ จึงออกแบบระบบสูบน้ำให้เคลื่อนที่ไปหาแหล่งน้ำได้
 ผศ.ก้องภพ ชาอามาตย์ 

         “บางแหล่ง แม้ขุดบ่อบาดาลได้แล้ว แต่ไม่มีเครื่องสูบ ก็นำมาใช้ประโยชน์ลำบาก”
         เครื่องสูบน้ำดังกล่าวนี้ ประกอบด้วยมอเตอร์ปั๊มน้ำ ขนาด 500 วัตต์ ติดตั้งบนรถเข็นเดินตาม ออกแบบจัดทำขึ้นโดยเฉพาะให้เหมาะกับแผงโซลาร์เซล ขนาดยาว 1.20เมตร กว้าง 80 ซม. รับพลังงานแล้วแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสตรง ให้มอเตอร์ทำงานได้เลย และยังชาร์จเข้าแบตเตอรี่ชนิดแห้งเพื่อให้ใช้งานได้ในวันที่ไม่มีแสงแดดหรือตามเวลาที่ต้องการ
         ต้นทุนการผลิตรถเข็นสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ คันละ 60,000 บาท เนื่องจากต้องออกแบบขึ้นเฉพาะ แต่หากชุมชนจะนำไปดัดแปลงใช้รถเข็นที่มีขายทั่วไป หรือใช้แบตเตอรี่รถยนต์ ราคาอาจต่ำกว่านี้ แต่การเก็บประจุไฟฟ้าอาจได้ประสิทธิภาพไม่เท่ากับแบบแห้งที่ออกแบบ

         มีรายงานว่า ความสามารถการสูบน้ำได้ถึงชั่วโมงละ2,000ลิตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น