อัปเดต10เทคโนโลยี5 ปีข้างหน้า
สวทช.อัปเดต 10 กระแสเทคโนโลยี ที่ส่งผลต่อการลงทุน การพัฒนา ล้วนเกี่ยวของสุขภาพ พลังงานและการประมง สาขาชีววิทยาสังเคราะห์ (Synthetic Biology) ถึงขั้นสร้างวงจรยีน (gene circuit) แจ้งเตือนการเกิดโรคหรือย่อยสลายสารพิษได้
ศ.ดร.ชูกิจ
ลิมปิจำนงค์ ผอ.สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
บรรยายพิเศษหัวข้อ 10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามอง 2567 (10 Technologies to
Watch 2024) โดยระบุว่า ทั้ง 10 เทคโนโลยี ครึ่งหนึ่งเป็น digital
technology มี AI ร่วมด้วย มี 3
เทคโนโลยีเกี่ยวข้องกับสุขภาพ 2 เทคโนโลยีเป็นเรื่องพลังงาน
อีก 1 เทคโนโลยี สายการประมง ข้อมูลทิศทางเทคโนโลยี จะเป็นโอกาสให้ภาคธุรกิจที่สนใจพิจารณาการเข้าไปลงทุนอย่างเหมาะสมได้
เทคโนโลยีทั้ง 10 ได้แก่ศ.ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์
1.กล้ามเนื้อเทียม
(Artificial Muscle) หรือกล้ามเนื้อจำลอง
เลียนแบบการทำงานของกล้ามเนื้อจริงตามธรรมชาติ
ใช้สวมใส่เพื่อฟื้นฟู เสริมแรงสำหรับผู้พิการ การผ่าตัดแบบ microsurgery
หรือนำกล้ามเนื้อเทียมไปประยุกต์ใช้ในหุ่นยนต์สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์
อุตสาหกรรมก่อสร้าง และระบบควบคุมอัตโนมัติในงานอุตสาหกรรม (industrial
automation) เพื่อให้หุ่นยนต์น้ำหนักเบา
ทำงานกับมนุษย์ได้อย่างปลอดภัย ปรับเปลี่ยนการใช้งานได้หลากหลาย
2.
จุลชีพในลำไส้เพื่อดูแลสุขภาพ (Human Gut Microbes for Healthcare) ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์มากมายในท้องตลาด มีจุลินทรีย์ดี ทั้งแบบ พรีไบโอติก
(prebiotic) โพรไบโอติก (probiotic) และซินไบโอติก
(synbiotic) อนาคตอันใกล้ อาจใช้เชื้อที่ผ่านการวิศวกรรม คุณสมบัติแปลกใหม่
ดีกว่าเดิม ช่วยเฝ้าระวังหรือรักษาโรคเฉพาะเจาะจง จุลินทรีย์อาจสร้างโดย
ชีววิทยาสังเคราะห์ (Synthetic Biology) ด้วยหลักการทางวิศวกรรมชีวเคมี
ออกแบบและสร้างระบบชีวภาพ ได้เป็น “วงจรยีน (gene circuit)” ในเซลล์ซึ่งเปิด-ปิดการทำงานของยีนบางอย่างได้อย่างจำเพาะ
อาศัยการตอบสนองสัญญาณหรือตัวกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม สามารถแจ้งเตือนการเกิดโรค
หรือย่อยสลายสารพิษ หรือรักษาโรคได้
3. แฝดดิจิทัลในการดูแลสุขภาพ (Digital Twin in Healthcare) ปัจจุบันมีบริษัทในประเทศสหรัฐอเมริกาพัฒนา Digital Twin Platform ดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำลองระบบการเผาผลาญพลังงานของผู้ป่วยจากข้อมูลต่าง ๆ ของผู้ป่วย บริษัทในประเทศสิงคโปร์ พัฒนาระบบทำนายความเสี่ยงในการเป็นโรคไตเรื้อรังของผู้ป่วยเบาหวานด้วยแบบจำลอง AI ประเทศไทยมีแนวโน้มที่บริษัทชั้นนำทางด้านเทคโนโลยีการแพทย์ รวมทั้งบริษัท health-tech startup จะนำเทคโนโลยีนี้ มาใช้งาน
4.
การพัฒนาซอฟต์แวร์แบบเอไอเสริม (AI-Augmented Software Development) ประมาณการณ์กันว่า จะมีการยกระดับผลิตภาพ (productivity) ของซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชันใหม่ ๆ ราว 35-45% พร้อม ๆ กับการลดต้นทุนถึง
20% ใช้เวลาที่สั้นลง คาดว่าภายในปี พ.ศ.2571
วิศวกรซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมเมอร์ในองค์กร 75% จะใช้ AI ช่วยเขียนโค้ด
เทียบกับปัจจุบันใช้น้อยกว่า 10%
5.
เทคโนโลยีอุปกรณ์สวมใส่ติดเอไอ (AI Wearable Technology) เก็บข้อมูลแบบเรียลไทม์ผ่านเซนเซอร์แบบไบโอเมทริก
(biometric sensor) เมื่อนำไปวิเคราะห์ด้วยอัลกอริทึมแบบ deep
learning ก็ได้ข้อมูลเชิงลึก ข้อเสนอแนะ และคำแนะนำ
ที่แม่นยำแก่ผู้ใช้ อุปกรณ์สวมใส่ AI รุ่นใหม่ ๆ
จะทำงานรวดเร็วและแม่นยำเที่ยงตรงมากขึ้น
ทีม A-MED สวทช.
ได้พัฒนาระบบเซนเซอร์อัจฉริยะสำหรับสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วย
ตรวจจับอิริยาบถการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ รวมไปถึงท่านอน การล้ม
ตำแหน่งที่เกิดเหตุภายในอาคาร พร้อมแสดงผล แจ้งเตือนผู้ดูแลแบบเรียลไทม์
6.
เทคโนโลยีคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของข้อมูล (Privacy-Enhancing
Technologies, PETs) ช่วยคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของข้อมูล
ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง เข้ารหัสแบบใหม่ ทำให้ข้อมูลประมวลผลบนคลาวด์ โดยไม่ต้องถอดรหัส
ในประเทศไทย เนคเทค สวทช.
ได้พัฒนาเทคโนโลยี PETs ใช้กับ IoT ในภาคอุตสาหกรรม
ทำให้การคำนวณข้อมูลของโรงงานอุตสาหกรรมบนคลาวด์ปลอดภัย
เนคเทคทดสอบใช้งานจริงในโรงงานธนากรผลิตน้ำมันพืชจำกัด (น้ำมันพืชกุ๊ก)
7.
หุ่นยนต์รักษาความปลอดภัย (Security Robot) ปัจจุบันมีการใช้งานหุ่นยนต์รักษาความปลอดภัยแล้วหลายประเทศ
ตลาดโลกประเมินว่าอาจจะสูงถึง 71,800 ล้านเหรียญในปี พ.ศ.2570
อัตราการเติบโตต่อปีอยู่ที่ 17.8% เฉพาะในแถบเอเชียแปซิฟิกสูงถึงเกือบ 20%
ปัจจัยกระตุ้นสำคัญคือ ความต้องการเทคโนโลยีนี้ในทางทหารและการป้องกันประเทศเป็นหลัก
ด้าน สวทช. มีการสร้างหุ่นยนต์รักษาความปลอดภัย
ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งานมากที่สุด
มั่นใจได้ในเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลลูกค้า
8.
เทคโนโลยีรีไซเคิลแบตเตอรี่แบบโดยตรง (Direct Battery Recycling
Technology) ที่ผ่านมาความต้องการแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนเติบโตมากกว่า
25% ต่อปี คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่าในปี พ.ศ.2573
กระบวนการรีไซเคิลแบตเตอรี่ปัจจุบันอาศัยความร้อนสูง ต้องใช้สารเคมีที่เป็นพิษ มีความพยายามพัฒนาเพื่อหลีกเลี่ยงกระบวนการนี้
มุ่งหมายเพื่อได้เทคโนโลยีรีไซเคิลแบตเตอรี่แบบโดยตรงลดการใช้พลังงาน
ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ประเมินกันว่าเทคโนโลยีแบบนี้อาจไปถึงจุดที่สามารถนำชิ้นส่วนกลับมาใช้ได้มากถึง
90% ลดความต้องการสินแร่ใหม่เพื่อนำมาผลิตแบตเตอรี่ได้มากกว่า 25% ในปี พ.ศ.2573
9.
ไฮโดรเจนเพื่อการขับเคลื่อน (H2 for Mobility)ในประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตไบโอไฮโดรเจน (biohydrogen) เนื่องจากเป็นประเทศเกษตรกรรมมีก๊าซมีเทนในมูลสัตว์หรือชีวมวลต่าง ๆ ซึ่งเป็นกรีนไฮโดรเจน
(green hydrogen) อาจผ่านกระบวนการทางเคมีจนได้ผลิตภัณฑ์ไฮโดรเจน
กระบวนการผลิตไฮโดรเจนแบบนี้ ลดการสร้างคาร์บอนฟุตพรินต์ (carbon
footprint) ขายเป็นคาร์บอนเครดิต (carbon credit) ของประเทศไปพร้อม ๆ กันได้
10.
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำด้วยระบบน้ำหมุนเวียน (Next Generation of
Recirculating Aquaculture System: RAS) เทคโนโลยี RAS เป็นการเลี้ยงแบบใช้น้ำหมุนเวียน
บำบัดของเสียออกจากน้ำและเติมออกซิเจนให้กับน้ำ ข้อดีคือไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำ
เลี้ยงสัตว์น้ำได้หนาแน่นในพื้นที่น้อย ควบคุมการเลี้ยงและติดตามปัจจัยต่าง ๆ
ได้ดีกว่าวิธีการแบบเดิม ลดความเสี่ยงจากโรคสัตว์น้ำได้มาก สวทช. ได้พัฒนาระบบ RAS
สำหรับกุ้งและปลากะพง ระบบที่พัฒนาขึ้นมีราคาที่ถูกลงกว่าในท้องตลาด
คืนทุนได้เร็ว ควบคุมระบบการเลี้ยงได้ง่ายขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น