ข่าวสาร วิทยาศาสตร์ วิจัย นวัตกรรม

วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2563

ไชน์มัสแคต องุ่นญี่ปุ่น ปลูกได้ ทำไร้เมล็ด ที่เมืองไทย

 

P องุ่น ไม้เถาที่ออกผลเป็นพวง ชนิดไร้เมล็ด ที่เข้าใจกันว่าเป็นของนอก มีราคาสูงและผู้บริโภคไม่เกี่ยงซื้อนั้น จะรู้ไหมว่า ที่เข้าขั้นพันธุ์ดี หวาน กรอบ ผลใหญ่ ผิวไม่แตกลายงา ต้องชื่อ “ไชน์มัสแคต”(ShineMuscat ) ต้นตระกูลจากแดนอาทิตย์อุทัย


Pแต่การที่องุ่นพันธุ์นี้ จะมีเนื้อล้วน ไร้เมล็ด เคี้ยวได้ไม่ระคายลิ้น ก็ด้วยเทคโนโลยีการตัดแต่งกิ่ง รวมถึงการเก็บเกี่ยวอย่างถูกต้อง ซึ่งค้นพบและศึกษาพัฒนาร่วมกับเกษตรกรชาวญี่ปุ่น สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สนับสนุนการถ่ายทอดสู่สมาร์ตฟาร์มเมอร์ที่สนใจ

Pแม้ต้นทางของไชน์มัสแคต จะอยู่ต่างประเทศ ก็ปลูกได้ในประเทศไทยเหมือนองุ่นพันธุ์อื่น เพียงแต่ยังมีเมล็ด จนกระทั่ง ผศ.ดร.พีระศักดิ์  ฉายประสาท คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก เข้าร่วมโครงการวิจัยกับสโมสรโรตารีสากล ที่ต้องการสนับสนุนการพัฒนาการผลิตองุ่นนี้ และนำคณะเกษตรกรจากประเทศไทยไปศึกษาดูงานที่เมืองนากาโน ประเทศญี่ปุ่น ช่วงปลายปี 2562


Pทันทีที่กลับมาถึงเมืองไทย เกษตรกรชาวไร่องุ่นกลุ่มนั้น ก็ลงมือนำเทคโนโลยีที่ศึกษามาปรับใช้ทันที จนขณะนี้ เริ่มเห็นผลผลิตและรอจังหวะเวลาอีกเล็กน้อยให้ได้ผลโตตามขนาดที่ตลาดต้องการก็จำหน่ายให้บริโภคได้แล้ว

P”เป็นเทคโนโลยีที่ญี่ปุ่นหวงแหน แต่มีบางท่านสนับสนุน เพราะความต้องการบริโภคมีสูง ทั้งมีข้อจำกัดที่ผลิตได้เพียงปีละ1ครั้ง ขณะที่บ้านเรามีสภาพอากาศที่เหมาะสม ทำได้ถึงปีละ 2 ครั้ง

p ผศ.ดร.พีระศักดิ์ อธิบาย โดยย้ำว่า ไชน์มัสแคต เป็นองุ่นคุณภาพดี ผลใหญ่ กรอบ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางพอๆกับเหรียญ 10 บาท  รสหวานระดับ 17-20 บริกส์ (ค่าดัชนีความหวาน 1 บริกส์ (Brix)เท่ากับน้ำตาลซูโครส 1 กรัมในสารละลาย 100 กรัม)

Pการผลิตองุ่นไชน์มัสแคตให้ได้ผลพึงประสงค์ ทั้งขนาด รสชาติ ไร้เมล็ดต้องเริ่มตั้งแต่การเตรียมพื้นที่ปลูก ให้มีระยะระหว่างแปลงห่าง 3 เมตร ลำต้น ห่างกัน 12 เมตร สำหรับเถาเลื้อย แต่ละต้น กำหนดให้มีกิ่งที่จะให้ผลต้องห่างกัน 50 ซม.



pระยะห่าง รวมถึงการวางตำแหน่งของกิ่ง ก็เพื่อผลต่อการขยายพันธุ์ การดูแลตั้งแต่ระยะแรกจนถึงระยะเก็บเกี่ยว

Pองค์ความรู้จากงานวิจัยที่ถ่ายทอดแก่เกษตรกรในการพัฒนาผลผลิต ได้แก่ การตัดแต่งกิ่ง การควบคุมทรงพุ่ม การให้ปุ๋ยน้ำ เทคนิคการทำให้ไร้เมล็ดโดยการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโต (จิบเบอเรลลิกแอซิก+CCPU+สเตปโตมัยซิน) ซึ่งเป็นสารที่ใช้กันเป็นปกติและไม่มีผลเสียตกค้างเพราะกว่าจะเก็บเกี่ยวก็อีกหลายเดือน

P”ที่สำคัญ อยู่ที่การตัดแต่งช่อผล ซึ่งจะสัมพันธ์กับคุณภาพของผลและกายภาพของผลเช่นให้สีสวยงาม สม่ำเสมอ ไม่กร้าน มีผลขนาดใหญ่ ได้ช่อขนาดใหญ่ ไม่มีเมล็ด รสชาติหวานตามต้องการ โดยการตัดแต่งช่อดอกทำไร้เมล็ด จากช่อที่มีดอกจำนวนมาก ต้องตัดแต่งให้เหลือเพียงปลายแค่ 3.5-4ซม.และไว้ผล 35-50ผลต่อช่อเท่านั้น”



ซึ่งเป็นสิ่งที่เกษตรกรต้องปรับตัว เคร่งครัดกับข้อนี้ ที่เคยเสียดายเก็บช่อดอกงามๆไว้ ก็ต้องตัดออกเพื่อจะได้ผลโตเต็มที่ เป็นพวงใหญ่

pเกษตรกรที่ร่วมเดินทางไปศึกษาดูงานที่ประเทศญี่ปุ่นกับ ผศ.ดร.พีระศักดิ์  และรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีกลุ่มแรกจำนวน 10 ราย จาก จ.พิษณุโลก เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และตาก ซึ่งกลับมาลงมือปฏิบัติจริง ก็ทำให้ได้เห็นปัญหาและปรับแก้ไข เกิดเป็นองค์ความรู้ ที่จะจัดอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตการจัดการโรคและแมลง เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวองุ่นไซน์มัสแคตเพื่อการพาณิชย์ และการประเมินคุณภาพองุ่นกับเกษตรกรที่สนใจต่อไป

pวัชราภรณ์ หรั่งนางรอง เจ้าของไร่องุ่นฮักริมปิง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ หนึ่งในเกษตรกรที่ร่วมคณะศึกษาดูงานการวิจัย พัฒนาการผลิตองุ่นไชน์มัสแคต ระบุว่า ไร่ของเธอปลูกองุ่นจำหน่าย รู้จักสายพันธุ์นี้ และสนใจที่จะพัฒนาให้เป็นผลไม้ไร้เมล็ด ซึ่งจะได้ราคาสูงกว่าทั่วไป และทันทีที่กลับมา เธอก็ลงมือปลูกทันที 40 ต้นและขยายเพิ่มเป็น100กว่าต้น




pเวลานี้ ผลผลิตไชน์มัสแคตในไร่องุ่นฮักริมปิงเริ่มออกผลงามๆให้เห็นแล้ว เมื่อกลางเดือน ธค.63 แม้ยังโตไม่เต็มที่ ก็ยังวัดความหวานได้ถึง 17 บริกส์แล้ว คาดว่าอีก 2 เดือนจะตัดจำหน่ายได้ ใครสนใจจะลองชิม ลองชม โทรคุยกันที่ 0891113296

pองุ่นจากไร่ฮักริมปิง ไม่เหมือนไม้ผลชนิดอื่นที่ต้องเผชิญปัญหาราคาและตลาดรับซื้อ เพราะมีแหล่งจำหน่ายปลีกที่จัดอยู่ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทั้งยังเป็นไร่องุ่นที่ได้ลูกค้าที่เยี่ยมชมสวนที่เปิดต้อนรับตลอดเวลา จากนั้นก็กลายเป็นลูกค้าที่จองผลผลิตชนิดออกผลเมื่อไหร่แจ้งให้ทราบก็จะสั่งให้ส่งไปทันที

pการได้ผลผลิตคุณภาพดี ปริมาณที่เหมาะสม ปลอดภัย เป็นที่ต้องการของตลาด จำหน่ายได้ในราคาสมเหตุสมผล คือสุดยอดปรารถนาของเกษตรกรและภาครัฐ

pแต่จะถึงจุดนั้นได้ รัฐและเกษตรต้องมีเป้าหมายเดียวกัน ทั้งต้องพร้อมให้การสนับสนุนด้านการวิจัยอย่างจริงจัง เป็นระบบ

pเพื่อความสำเร็จที่ภาคภูมิไปด้วยกัน

วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2563

กรมจัดหางาน แจ้งงานว่าง part-time มิย.63 กว่า 5,000 อัตรา

กรมการจัดหางาน แจ้งมีงานว่าง part-time เดือนมิย.63 กว่า 5,000 อัตราแรงงานด้านการผลิตเยอะสุด

 

วันที่ 12มิ.ย.63 นายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล อธิบดีกรมการจัดหางาน  แจ้งว่า กรมฯ ได้รับแจ้งความต้องการงาน part-time ขณะนี้

1.แรงงานด้านการผลิต  716 อัตรา

2. เจ้าหน้าที่สำนักงานอื่น ๆ 696 อัตรา

3. แรงงานด้านการผลิตต่าง ๆ ,แรงงานทั่วไป 596 อัตรา 

4.พนักงานบริการลูกค้า 289 อัตรา

5.พนักงานจัดส่งสินค้าอื่น ๆ 215 อัตรา

6.พนักงานขายสินค้า (ประจำร้าน) , พนักงานขายของหน้าร้าน145 อัตรา

7.พนักงานขาย และผู้นำเสนอสินค้าอื่น ๆ141 อัตรา 

8.พนักงานบริการอื่น ๆ 126 อัตรา

9. ช่างอัญมณีและช่างประดิษฐ์เครื่องประดับอื่น ๆ 109 อัตรา

10.พนักงานขับรถยนต์ จำนวน 101 อัตรา รวม 4,396 อัตรา

         สมัครได้ ดังนี้ 1. สมัครด้วยตนเอง ที่อาคาร 3 ชั้น หน้ากระทรวงแรงงาน หรือ สำนักงานจัดหางานจังหวัดทั่วประเทศ

2. สมัครด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์ http://smartjob.doe.go.th

ดูตำแหน่งงานว่าง Part-time ได้ที่ Facebook Fanpage :“เสิร์ฟงานด่วน” หรือ สายด่วนกระทรวงแรงงานโทร. 1506 กด 2 กรมการจัดหางาน” 

 

https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/32237

 


วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2563

แจงไอเดียนายกฯจัดระเบียบชายทะเล

4 แนวทางนิว นอร์มอล ของนายกรัฐมนตรี เพื่อจัดการชายหาด

         นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) กล่าวระหว่างการแถลงข่าวประจำวันที่ 8 มิ.ย.63 ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะ ผอ.ศบค. ระบุว่า ควรจัดระเบียบการท่องเที่ยวชายหาด ริมทะเลในรูปนิวนอร์ม เหมือนในต่างประเทศ  โดยแบ่งเป็น 4 รูปแบบ 1.บริเวณที่เล่นน้ำไม่ได้ ให้ยอมให้เปิดกิจการร้านอาหาร จอดรถชมวิวทะเล

2.พื้นที่หาดเป็นก้อนหิน ให้มีร้านค้าปลีก รถเข็น โดยมีการจัดระเบียบ ประชาชนซื้อของกินได้ แต่ต้องดูแลพื้นที่ให้สะอาด 

3.พื้นที่ลงหาดได้ ไม่ให้มีร้านค้า ให้ชาวบ้านไปปิกนิก นำอาหารไปทำกินกันเอง ปูเสื่อ เล่นน้ำได้ แต่ต้องรักษาความสะอาด  

4.บริเวณหาดมีความสวยงาม เป็นพื้นที่สาธารณะ ห้ามมีกิจการเรือ ร้านค้า ประชาชนลงไปเล่นชายหาดได้  ทั้งนี้เพื่อให้คนไทยได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติมากที่สุด  โดย ศบค.จะจัดระเบียบร่วมกับกระทรวงต่าง ๆ ความสำเร็จของแนวทางนี้ ขึ้นอยู่กับประชาชนเห็นด้วย ผู้ให้บริการเข้าใจยอมทำตาม  และภาครัฐ ควบคุมกำกับดูแล

วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ตรวจหมื่นคนกลุ่มเสี่ยงกรุงเทพไม่มีโควิด

กรมควบคุมโรค โดยสถาบันป้องกันควบคุมโรคในเขตเมือง (สปคม.) โดย นพ.เอนก มุ่งอ้อมกลาง ผอ.สถาบันฯได้ปฏิบัติการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก 4 กลุ่มเสี่ยง คือ กลุ่มสถานที่แออัด ได้แก่ ชุมชนแออัด วัด เรือนจำ / กลุ่มหมู่บ้านจัดสรร / กลุ่มเจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์และสาธารณสุขในคลินิกอบอุ่น / กลุ่มผู้เดินทางทุกระบบ ผู้ขับขี่รถแท็กซี่ ผู้โดยสารสาธารณะ

ผลการคัดกรองค้นหาเชิงรุกในกลุ่มเสี่ยงและสถานควบคุมโรคแห่งรัฐตั้งแต่วันที่ 15 เม.ย.-8พ.ค.63 รวม 9,516 ราย แบ่งเป็น กลุ่มเสี่ยงตามอาชีพ 4,820ราย ได้แก่ ผู้เดินทาง รถรับจ้างสาธารณะ รถรับจ้างบุคคล บุคลากรของรัฐ และอื่น ๆ  เช่น ค้าขาย พนักงานบริษัท เกษตรกร นักศึกษา) และกลุ่มสถานที่เสี่ยง 1,152 ราย จากชุมชนคลองเตย เรือนจำ เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ในคลินิกชุมชนอบอุ่น 2 แห่ง ในวัด (พระ/ผู้ดูแลอาราม และประชาชน) และกลุ่มหมู่บ้านจัดสรร 

ผลการตรวจไม่พบผู้ติดเชื้อโควิด 19

นอกจากนี้ ได้นำแอปพลิเคชัน clicknic  มาใช้ในการเฝ้าระวังเชิงรุกกลุ่มประชาชนในหมู่บ้านจัดสรรที่มีจำนวนมาก สามารถวิดีโอคอล (VDO Call) ปรึกษาอาการกับเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์เพื่อคัดกรองอาการเบื้องต้น ไม่ต้องไปตรวจที่โรงพยาบาล หากพบความเสี่ยงจะแนะนำเข้าตรวจทางห้องปฏิบัติการ ลดความเสี่ยงการแพร่เชื้อ นอกจากนี้ 

covid-19อาเซียน สิงคโปร์ติดเชื้อสูงสุด อินโดนีเซีย เสียชีวิตมากสุด

สถานการณ์โควิด-19 อาเซียนจ
รายงานวันที่ 8 พฤษภาคม 2563 

ศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์ และการวิจัยและพัฒนา 
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) รายงานจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น ในแต่ละประเทศ 
ประเทศสิงคโปร์ จำนวนผู้ติดเชื้อสะสมสูงสุด เกิน21,000 ราย เสียชีวิต 20 ราย สัดส่วน 0.09%
อินโดนีเซีย ยอดสะสมเกิน 13,000 ราย เสียชีวิตมากที่สุดในอาศัย 943 ราย สัดส่วน 7.19%
ฟิลิปปินส์ ยอดติดเชื้อสั่งสม เกิน10,000 ราย เสียชีวิต 696 ราย หรือ6.65%
ไทย มีผู้ติดเชื้อสะสม 3,004 ราย เสียชีวิต 56 เท่ากับ1.83%
-สิงคโปร์      +768 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 21,707 ราย)
-อินโดนีเซีย  +336 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 13,112 ราย)
-ฟิลิปปินส์     +120 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 10,463 ราย)
-มาเลเซีย       +68 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 6,535 ราย)
-พม่า               +15 ราย (รวมติดเชื้อสะสม 176 ราย) ข้อมูลย้อนหลังหนึ่งวัน

-ไทย                 +8 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 3,000 ราย)

-เวียดนาม         +0 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 288 ราย) 
-บรูไน               +0 ราย (รวมติดเชื้อสะสม 141 ราย)
-กัมพูชา            +0 ราย (รวมติดเชื้อสะสม  122 ราย)
-ลาว                 +0 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 19 ราย

วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

แจง New normal ร้านตัดผมเสริมสวย วัดไข้ ใส่หน้ากาก ล้างมือ

กรมอนามัยวางแนวปฏิบัติร้านตัดผม เสริมสวย รับมาตรการผ่อนปรน

แพทย์หญิงพรรณพิมล  วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยหลังการลงพื้นที่ให้คำแนะนำแนวทางการป้องกันเชื้อโควิด-19 ในสถานประกอบการร้านตัดผม เสริมสวย ตามมาตรการผ่อนปรน ร่วมกับ ดร.สมศักดิ์  ชลาชล  ที่โรงเรียนเสริมสวยชลาชล อาคาร Biztown ลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร ว่า จากมาตรการผ่อนปรนให้สถานประกอบการร้านตัดผม เสริมสวย เปิดให้บริการได้ตั้งแต่ 3 พฤษภาคม 2563 นั้น ผู้ประกอบการ ผู้ให้บริการ พนักงานและผู้เกี่ยวข้องกับงานบริการทุกคน ต้องให้ความสำคัญด้านความสะอาด ปลอดภัย สร้างสุขอนามัยที่ดีให้กับตนเองและลูกค้าผู้ใช้บริการ และปฏิบัติตามมาตรการของกรมอนามัยในการควบคุมป้องกันเชื้อโควิด-19 อย่างเคร่งครัด 

ดังนี้ 1) ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายพนักงานทุกคนที่ให้บริการ ในร้านตัดผม เสริมสวย (เฉพาะตัด สระ ไดร์) ถ้าอุณหภูมิร่างกายเกิน 37.5 องศาเซลเซียส หรือมีไข้ ไอ จาม ให้หยุดปฏิบัติงานและไปพบแพทย์  

2) จัดหาหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยสำหรับพนักงานทุกคนอย่างเพียงพอ โดยให้พนักงานทุกคนสวมเสื้อคลุม ใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย และสวม Face shield ตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน 

3) ให้พนักงานทุกคนล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่และน้ำ หรือเจลแอลกอฮอล์ ก่อนและหลังให้บริการลูกค้าคนต่อไป 

4) ห้ามให้บริการอื่น ๆ ที่ต้องสัมผัสใกล้ชิดกับใบหน้าของลูกค้า หรือถ้าใช้ใบมีดโกน ให้เปลี่ยนใบมีดกับลูกค้าทุกคน ห้ามใช้ซ้ำ


“สำหรับการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในร้านนั้น ควรจัดให้มีจุดล้างมือหรือเจลแอลกอฮอล์ สำหรับบริการลูกค้าที่บริเวณประตูทางเข้า หรือเคาน์เตอร์รับชำระเงินทุกจุดอย่างเพียงพอ มีระบบระบายอากาศที่ดี มีการไหลของอากาศภายในอาคารที่ได้มาตรฐาน และทำความสะอาดในบริเวณพื้นที่ที่มีการสัมผัสร่วมกันบ่อย ๆ เช่น เก้าอี้ตัดผม เตียงสระผม ที่นั่งรอรับบริการ ด้วยน้ำยาทำความสะอาดและน้ำยาฆ่าเชื้อโรคอย่างน้อยทุก ๆ 2 ชั่วโมง และปฏิบัติตามหลักสุขอนามัย ไม่ใช้ของใช้ร่วมกัน เช่น ผ้าขนหนู ผ้าคลุมตัว ส่วนอุปกรณ์ในการเสริมสวย เช่น หวี แปรง กรรไกร ต้องทำความสะอาดทุกครั้งก่อนและหลังให้บริการกับลูกค้าด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค เช่น แอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ หรือโซเดียมไฮโปคลอไรท์ 0.1 เปอร์เซ็นต์ จัดเก้าอี้บริการลูกค้าไม่ให้แออัด ให้มีระยะห่างกัน 1.5 - 2 เมตร 

สำหรับผู้รับบริการ ควรนัดคิวการตัดผม เสริมสวย ล่วงหน้าเพื่อลดเวลาในการนั่งรอและอยู่ในสถานที่ร่วมกัน และเมื่อเข้ามาในร้านเสริมสวยต้องได้รับการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยให้มีการล้างมือหรือใช้เจลแอลกอฮอล์ทุกครั้งเมื่อเข้ามาในร้านและหลังชำระเงิน ทั้งนี้กรมอนามัยขอความร่วมมือทุกสถานประกอบการร้านตัดผมเสริมสวย ถือปฏิบัติตามคำแนะนำของกรมอนามัยเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้บริการทุกคน” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว



วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2563

คนกรุงออกนอกบ้าน เดินทางมากขึ้น

คนกรุงออกนอกบ้าน เดินทางมากขึ้น

ศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์ การวิจัยและพัฒนา เปิดเผยผลการศึกษาของศูนย์เทคโนโลยีและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ว่า ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา คนกรุงเทพฯ ออกนอกบ้านมากขึ้น 

จากการประมวลข้อมูลการเดินทางในวันทำงาน เปรียบเทียบในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา (20-24 เมษายน 2563) กับช่วงสัปดาห์ก่อนหน้านี้ (13-17 เมษายน 2563) พบว่าการใช้
   -  รถยนต์ส่วนตัว เพิ่มขึ้น 10% จากเฉลี่ยวันละ 1,485,250 คัน เป็นวันละ 1,630,505 คัน
   - ระบบขนส่งสาธารณะทางถนน เพิ่มขึ้น 9% จากเฉลี่ยวันละ 470,475 คน เป็นวันละ 512,088 คน
   -  ระบบขนส่งสาธารณะทางราง เพิ่มขึ้น 9% จากเฉลี่ยวันละ 274,718 คน เป็นวันละ 300,259 คน
 การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้มีการกำหนดมาตรการเพื่อลดการแพร่ระบาด การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ห้ามออกนอกเคหสถานช่วง 22.00-04.00 รณรงค์ให้สถานที่ทำงานต่างๆใช้วิธีทำงานจากที่บ้าน พร้อมกับการสั่งปิดสถานประกอบการหลายสิบชนิด เช่นศูนย์การค้า โรงภาพยนตร์ สวนสาธารณะ การห้ามรับประทานอาหารในร้าน รวมถึงการห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์

วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2563

อาเซียน การติดเชื้อยังเพิ่มไม่หยุด

สถานการณ์โควิด-19 อาเซียน 
วันที่ 25 เมษายน 2563 เวลา 19.30 น. 

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษาฯ (อว.)รายงานล่าสุดจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นแต่ละประเทศ ดังนี้
-สิงคโปร์      +618 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 12,693 ราย) 
-อินโดนีเซีย  +396 ราย (รวมติดเชื้อสะสม 8,607 ราย)
-ฟิลิปปินส์     +102 ราย (รวมติดเชื้อสะสม 7,294 ราย)
-ไทย              +53 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 2,907 ราย)
-มาเลเซีย       +51 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 5,742 ราย)
-พม่า              +12 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 144 ราย) ข้อมูลย้อนหลังหนึ่งวัน
-เวียดนาม        +0 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 270 ราย) 
-บรูไน              +0 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 138 ราย)
-กัมพูชา           +0 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม  122 ราย)
-ลาว                +0 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 19

วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2563

โควิด สิงคโปร์เพิ่มหลักพันอีกวันแล้ว

สถานการณ์โควิด-19 อาเซียน 
วันที่ 23 เมษายน 2563 เวลา 19.30 น. 

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษาฯ (อว.) รายงานล่าสุดผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น ในแต่ละประเทศ

-สิงคโปร์      +1,037 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 11,178 ราย) 
-อินโดนีเซีย  +357 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 7,775 ราย)
-ฟิลิปปินส์     +271 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 6,981 ราย)
-มาเลเซีย       +71 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 5,603 ราย)
-ไทย              +13 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 2,839 ราย)
-พม่า                +4 ราย (รวมติดเชื้อสะสม 127 ราย) 
-บรูไน               +0 ราย (รวมติดเชื้อสะสม 138 ราย)
-เวียดนาม         +0 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 268 ราย) 
-กัมพูชา            +0 ราย (รวมติดเชื้อสะสม  122 ราย)
-ลาว                 +0 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 19 ร

วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2563

covid-19 สิงคโปร์พุ่งเกินหมื่น

สถานการณ์โควิด-19 อาเซียน วันที่ 22 เมษายน 2563 เวลา 19.30 น. 

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษาฯ (อว.)รายงานล่าสุด จำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นในแต่ละประเทศ 

-สิงคโปร์      +1,016 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 10,141 ราย) 
-อินโดนีเซีย   +283 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 7,418 ราย)
-ฟิลิปปินส์       +111 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 6,710 ราย)
-มาเลเซีย         +50 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 5,532 ราย)
-ไทย                +15 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 2,826 ราย)

-เวียดนาม         +0 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 268 ราย) 
-บรูไน               +0 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 138 ราย)
-กัมพูชา            +0 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม  122 ราย)
-พม่า                 +2 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 121 ราย) ข้อมูลย้อนหลังหนึ่งวัน
-ลาว                  +0 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 19 ราย)


    ประเทศสิงคโปร์มีอัตราการเพิ่มของผู้ติดเชื้อรายใหม่อย่างรวดเร็ว จากหลักร้อยเมื่อสิ้นเดือน มี.ค.63 เป็นเรือนหมื่น และผู้ป่วยใหม่เพิ่มวันละพันคนเศษ โดยวันที่ 21 เม.ย.63 พบรายใหม่  1,111 คน มียอดรวม 9,125 คน กลายเป็นอันดับที่ 31 ของโลก ห่างจากประเทศญี่ปุ่น อันดับ 24 มีผู้ติดเชื้อรวม 11,135 คน เพิ่มในวันเดียวกัน 338 คน


วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2563

Circuit Breaker อีก1 เดือน :ไม้ตายสู้โควิดของสิงคโปร์

สถานการณ์โควิด-19 อาเซียน 
วันที่ 21 เมษายน 2563 เวลา 19.30 น. 

❌❌"สิงคโปร์ ขยายเวลามาตรการเข้มงวด Circuit Breaker ต่อไปอีก 4 สัปดาห์ จนถึง 1 มิถุนายน 2563 เพื่อควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19"❌❌

นายกรัฐมนตรีลีเซียนลุงของสิงคโปร์ แถลงต่อประชาชนในวันนี้ ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อในสิงคโปร์ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในกลุ่มแรงงานชาวต่างชาติ ดังนั้นเพื่อควบคุมการระบาดและป้องกันในเชื้อแพร่กระจายในวงกว้าง รัฐบาลจึงต้องเพิ่มมาตรการให้เข้มงวดมากขึ้นอีกหลังจากที่ได้ประกาศใช้ Circuit Breaker ไปแล้วเมื่อสองสัปดาห์ที่ผ่านมา โดย

    -ให้ประชาชนอยู่กับบ้านมากขึ้นอีกให้ออกจากบ้านเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น ไม่ออกไปหลายคนและรีบกลับบ้านโดยเร็วเมื่อเสร็จภารกิจ
    -เพิ่มมาตรการควบคุมจุดที่อาจแพร่กระจายเชื้อได้ง่าย (hot spots) เช่น ตลาดสด โดยควบคุมการเข้าออกตลาดและลดจำนวนคนที่ใช้บริการ
    -เพิ่มการปิดกิจการต่างๆ เพื่อลดคนไปทำงานลงไปอีก ซึ่งอาจจะมีผลต่อกิจกรรมหรือบริการที่สำคัญ

ในการนี้ สิงคโปร์ได้ประกาศขยายเวลามาตรการเข้มงวด Circuit Breaker ต่อไปอีก 4 สัปดาห์ จนถึง 1 มิถุนายน 2563 


สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)รายงานผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นล่าสุด ในแต่ละประเทศ  📶

-สิงคโปร์      +1,111 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 9,125 ราย) 
-อินโดนีเซีย  +375 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 7,135 ราย)
-ฟิลิปปินส์     +140 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 6,599 ราย)
-มาเลเซีย       +57 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 5,482 ราย)
-ไทย              +19 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 2,811 ราย)


-พม่า                +8 ราย (รวมติดเชื้อสะสม 119 ราย) ข้อมูลย้อนหลังหนึ่งวัน
-บรูไน               +0 ราย (รวมติดเชื้อสะสม 138 ราย)
-เวียดนาม         +0 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 268 ราย) 
-กัมพูชา            +0 ราย (รวมติดเชื้อสะสม  122 ราย)
-ลาว                 +0 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 19 ราย)

วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2563

โควิดอาเซียน สิงคโปร์ยั้งไม่หยุด วันเดียวป่วยเกิน 1,400!!

📶📶สถานการณ์โควิด-19 อาเซียน 
วันที่ 20 เมษายน 2563 เวลา 19.30 น. 

🇸🇬🇸🇬 สิงคโปร์ ยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 1,426 รายในวันเดีย

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)รายงานผู้ติดเชื้อล่าสุดที่เพิ่มขึ้นแต่ละประเทศ 
-สิงคโปร์      +1,426 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 8,014 ราย) 
-ฟิลิปปินส์       +200 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 6,459 ราย)
-อินโดนีเซีย     +185 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 6,760 ราย)
-มาเลเซีย          +36 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 5,425 ราย)
-ไทย                 +27 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 2,792 ราย)


-เวียดนาม           +0 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 268 ราย) 
-บรูไน                 +0 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 138 ราย)
-กัมพูชา              +0 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม  122 ราย)
-พม่า                  +0 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 111 ราย)
-ลาว                   +0 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 19 ราย)


วันเสาร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2563

สถานการณ์โควิด จีน อาเซียน 18 เมย63

📶สถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ในอาเซียน รายงานวันที่ 18 เมษายน 2563 เวลา 19.30 น. 

 สิงคโปร์ พบการติดเชื้อสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยอดเพิ่มขึ้นวันนี้ 942 ราย สะสมเกือบ 6,000 รายแล้ว /จีนก็กลับมามีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) รายงานผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น แต่ละประเทศ ในอาเซียน ดังนี้
-สิงคโปร์      +942 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 5,992 ราย) 
-อินโดนีเซีย  +325 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 6,248  ราย)
-ฟิลิปปินส์     +209 ราย (รวมติดเชื้อสะสม 6,087 ราย)
-มาเลเซีย       +54 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 5,305 ราย)
-ไทย              +33 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 2,733 ราย)
-พม่า                +6 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 94 ราย)
-บรูไน               +1 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 137 ราย)
-เวียดนาม         +0 ราย (รวมติดเชื้อสะสม 268 ราย) 
-กัมพูชา            +0 ราย (รวมติดเชื้อสะสม  122 ราย)
-ลาว                  +0 ราย (รวมติดเชื้อสะสม 19 ราย
นอกจากนี้ เว็บไซต์รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา2018 ทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยการภาวะการของโควิด-19 ทั่วโลก เป็นที่น่าสังเกตว่าประเทศจีนที่มีท่าทีการควบคุมโรคได้และผ่อนคลายมาตรการต่างๆ แต่ปรากฎการติดเชื้อเพิ่มขึ้น 352 ราย มีผู้ป่วยอีก 1,058 ราย

วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2563

โควิดอาเซียน17เมย63/สิงคโปร์ติดเชื้อเกินห้าพันแล้ว!!

สถานการณ์โควิด-19อาเซียน 
วันที่ 17 เมษายน 2563 เวลา 19.30 น. 

🇸🇬🇸🇬สิงคโปร์ติดเชื้อสูงขึ้นต่อเนื่อง ยอดรวมกว่า 5,000 รายแล้ว

           สองวันเพิ่มรวมถึง 1,351 ราย (เมื่อวาน 728 รายและวันนี้ 623 ราย)

🇲🇨🇲🇨อินโดนีเซีย ยอดรวมกลับมาสูงกว่าฟิลิปปินส์

รายงานล่าสุดจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น ในแต่ละประเทศ จัดทำโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษาฯ (อว.) แจ้งดังนี้

-สิงคโปร์      +623 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 5,050 ราย) 

-อินโดนีเซีย  +407 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 5,923 ราย)

-ฟิลิปปินส์     +218 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 5,878 ราย)

-มาเลเซีย       +69 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 5,251 ราย)

-ไทย              +28 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 2,700 ราย)

-เวียดนาม         +0 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 268 ราย) 
-บรูไน               +0 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 136 ราย)
-กัมพูชา            +0 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 122 ราย)
-พม่า                +0 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 85 ราย) 
-ลาว                 +0 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 19 ราย)

📶📶 การวิเคราะห์ผู้ติดเชื้อตามสถานะ ยอดสะสม หาย รักษาอยู่ เสียชีวิต ของแต่ละประเทศ นับจากวันที่มีผู้ติดเชื้อถึง 100 ราย (สถานะ ณ วันที่ 16 เมษายน 2563) 

วันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2563

สถานการณ์โควิด-19 อาเซียน สิงคโปร์ผู้ติดเชื้อเพิ่มไม่หยุด :::16เมย63

โควิด-19 อาเซียน 

วันที่ 16 เมษายน 2563 เวลา 19.30 

รายงานล่าสุดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น ในแต่ละประเทศ 

-สิงคโปร์  เพิ่มสูงสุด    447 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 3,699 ราย) ข้อมูลย้อนหลังหนึ่งวัน
-อินโดนีเซีย  เพิ่ม 380 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 5,516 ราย)
-ฟิลิปปินส์     เพิ่ม 207 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 5,660 ราย)
-มาเลเซีย      เพิ่ม 110 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 5,182 ราย)
-ไทย              เพิ่ม 29 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 2,672 ราย)

-พม่า              +11 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 85 ราย) 
-เวียดนาม       +2 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 268 ราย) ข้อมูลย้อนหลังหนึ่งวัน
-กัมพูชา          +0 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม  122 ราย)
-ลาว                +0 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 19 ราย)
-บรูไน              +0 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 136 ราย)

ข้อมูล :สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษาฯ (อว.)

วันอังคารที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2563

โควิด-19 อาเซียน /สิงคโปร์แซงหน้าไทย

โควิด-19 อาเซียน  /สิงคโปร์แซงหน้าไทย
 วันที่ 14 เมษายน 2563 เวลา 19.30 น. 

⬆️⬆️ สิงคโปร์ยอดผู้ติดเชื้อพุ่งสูง จำนวนผู้ติดเชื้อรวมแซงไทยแล้ว ⬆️⬆️
⬆️⬆️ พม่าขยับสูงขึ้นมาก 50% ในวันเดียว                                    ⬆️⬆️

จำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น ในแต่ละประเทศ ในรอบการรายงานล่าสุด

-สิงคโปร์      +386 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 2,918 ราย) ข้อมูลย้อนหลังหนึ่งวัน

-ฟิลิปปินส์     +291 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 5,223 ราย)

-อินโดนีเซีย  +282 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 4,839 ราย)

-มาเลเซีย      +170 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 4,987 ราย)

-ไทย              +34 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 2,613 ราย)

-พม่า              +21 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 62 ราย) ข้อมูลย้อนหลังหนึ่งวัน

-เวียดนาม        +1 ราย   (รวมติดเชื้อสะสม 266 ราย)
-บูรไน              +0 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 136 ราย)
-กัมพูชา           +0 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 122 ราย)
-ลาว                +0 ราย  (รวมติดเชื้อสะสม 19 ราย)

ข้อมูล :สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษาฯ (อว.)

วันจันทร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2563

ทำท่าจะดี สงกรานต์มีเสียวโควิดกระเซ็น

ทำท่าจะดี สงกรานต์มีเสียวโควิดกระเซ็น พร้อมทัพคนไทยอีก 1,200 คืนถิ่น


ย้ำ ๆ ๆ สงกรานต์ นี้ อย่าฉีด พ่น สาด ราด รด น้ำ ดำหัว เป็นอันขาด


เพราะคนมีเชื้อโควิด-19 จามในจังหวะฉีดน้ำ จะพาเชื้อไปไกลกว่า 2 เมตร กระจายไปอีกเพียบ... นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา2019 กล่าว


ทั้งนี้ รวมถึงการรดน้ำญาติผู้ใหญ่ เพราะเรื่องติดเชื้อจากคนในครอบครัวไม่ใช่ของเล่น

รายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่ วันที่ 12เม.ย.63 มีเพียง 33 คน ที่หายจนกลับบ้านได้มีถึง 83 คน แต่ข้อมูลด้านลึกพบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่สัมผัส กับรายก่อนๆหรือเกี่ยวข้องกับสถานที่พบผู้ป่วย ที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศก็ยังมี



จำนวนผู้เสียชีวิต 3 ราย เป็นชายไทยวัย 74 มีโรคประจำตัว เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง มีประวัติดื่มสุรา สูบบุหรี่ เคยเข้าไปในที่ชุมชน มีการรวมกลุ่ม เข้ารักษาด้วยอาการไข้ ปวดเสียดท้อง ตรวจพบเชื้อ รายที่สองเป็นหญิงไทย อายุ 65 มีโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ภาวะอ้วน มีประวัติเสี่ยงไปเยี่ยมญาติ และมีญาติมาเยี่ยมขณะรักษาพยาบาล เข้ารักษาด้วยอาการไข้ ไอ เจ็บคอ เหนื่อย เพลีย รายที่สาม เป็นชายไทยอายุ 44 สถาบันบำราศนราดูร รับตัวจาก รพ.เอกชนด้วยอาหารหนัก อวัยวะล้มเหลวหลายส่วน ใช้ยาทุกตัว แต่ก็เสียชีวิตในที่สุด


สรุป มีผู้ป่วยสะสม 2,551 คน ยอดรวมที่หาย กลับบ้านแล้ว 1,218คน ที่ยังรักษาตัวในโรงพยาบาล 1,295 คน เสียชีวิตทั้งสิ้น 38 ราย


นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผอ.กองโรคติดต่อทั่วไป แจกแจงว่า ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว คนอายุมากกว่า 70 ปี มีอัตราการตายถึง 10% จึงต้องช่วยกันปกป้องให้ผู้สูงอายุปลอดภัย ไม่ป่วย เพื่อไม่เสี่ยงต่อชีวิต ส่วนคนที่ร่างกายแข็งแรง หากอยู่ใกล้คนป่วยก็ติดได้ เพราะโรคนี้ติดต่อง่าย รายใหม่ส่วนใหญ่รับเชื้อจากการสัมผัสคนที่ป่วยอยู่ในระบบที่เผลอไม่ได้ก็คนในครอบครัว พบการติดเชื้อมากกว่าร้อยละ 50


หันมาดูสถิติ จำนวนผู้คิดเชื้อใหม่ 33 คน ทำให้กราฟปักหัวต่ำลงอีก ตัวเลขนี้เคยเกิดขึ้นวันที่ 16 มี.ค.63 โดยสัปดาห์นั้นมีตัวเลขระดับ30เศษติดต่อกัน 4 วันจากนั้นจึงดีดขึ้นไป 50,70 และถึงหลักร้อยครั้งแรกวันที่ 22 มี.ค.63จนถึงวันที่ 8 เม.ย.63


สถิติของผู้ที่รักษาหาย ก็มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี โดยวันที่12จนถึง 30มี.ค.63 เส้นแสดงผู้ติดเชื้อใหม่พุ่งสูงลิบ มีคนที่รักษาหายต่ำติดพื้น เช่นวันที่ 22 มี.ค.63 ยอดผู้ป่วยใหม่188คน รักษาหายเพียง 1 จนถึงวันที่ 31มี.ค.63 จำนวนผู้ได้รับการรักษาหายสูงสุดถึง 215 ส่วนผู้ติดเชื้อใหม่มี 127 คน หลังจากนั้นมา หากผู้ป่วยรายใหม่ต่ำกว่า 100 กราฟแสดงจำนวนคนที่หายก็พุ่งสูงขึ้นเด่นขึ้นทันที


ถือว่าสถานการณ์โดยรวมของไทยอยู่ในเกณฑ์น่ายินดี แต่มีการข้อสังเกตว่า บางประเทศในอาเซียน จำนวนผู้ป่วยใหม่ยังเพิ่มอยู่ มาเลเซีย ผู้ป่วยสะสม4,683 คน เพิ่มขึ้น 153 ฟิลิปปินส์ 4,648 คน เพิ่มขึ้น 220 เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 50 ราย อินโดนีเซียรวม 4,241 คน เพิ่มขึ้น399 เสียชีวิต เพิ่มอีก 46 สิงคโปร์ รวม 2,299 คน เพิ่มขึ้น 191


ทั้งมีรายงานว่า จะมีคนไทยในมาเลเซีย ขอกลับเข้าประเทศ ตั้งแต่วันที่ 15 เม.ย.63


ไม่มีอะไรหรอก??



ขอบคุณ www.newtv.co.th

โควิด อินเดีย มาช้า แต่มาแรงน่าใจหาย

จับตาอินเดีย ผู้ติดเชื้อโควิด-19 พุ่งสูง 5 เท่าใน2 สัปดาห์ ตายแล้ว325 

ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ สิริฤกษ์  ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยผลการศึกษาของศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านวิจัยและวิชาการ วช. ว่าในช่วงต้นเดือนเมษายน พบจำนวนผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 ในทวีปเอเชียเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

 การติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดพบว่าประเทศอินเดีย ที่มีประชากรเป็นจำนวนมากเป็นอันดับสองของโลก มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นจาก 1,998 ราย เป็น  9,166 ราย เมื่อวันที่ 12 เมษายนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นเกือบ 5 เท่าในเวลาไม่ถึง 2 สัปดาห์ และเชื้อโรคโควิด -19 ยังคร่าชีวิตพลเมืองของอินเดียไปแล้วกว่า 325 คน

ประเทศอินเดีย มีประชากรกว่า 1,387 ล้านคน พบผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 รายแรกเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2563 ในช่วงระยะเวลาแรกๆ พบผู้ติดเชื้อไม่มากนัก และเริ่มมีผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 มากขึ้นเรื่อย ๆ ในเวลาต่อมา จนปัจจุบันมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นสูงอย่างมากภายในสัปดาห์นี้

รัฐบาลอินเดียได้ประกาศล็อกดาวน์ทั่วประเทศ และประกาศเคอฟิว ห้ามประชาชนออกนอกบ้าน สั่งปิดภาคธุรกิจ โรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงงานอุตสาหกรรม และปิดระบบขนส่งสาธารณะทั้งทางบกและทางอากาศ เป็นเวลา 3 สัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเวลาที่มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 ประมาณ 500 ราย อย่างไรก็ตามจำนวนผู้ติดเชื้อในอินเดียยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด อย่างไม่มีแนวโน้มว่าจะลดลงแต่อย่างใด ทำให้รัฐบาลอินเดียกำลังพิจารณาเตรียมประกาศขยายเวลาการล็อกดาวน์ต่อไปอย่างน้อยจนถึงสิ้นเดือนเมษายนนี้

วิเคราะห์และประมวลข้อมูลโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษาฯ (อว.)

วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2563

เยียวยาโควิดไม่กลัวติดเชื้อ ออแน่นออมสินขอพร้อมเพย์


เยียวยาโควิดไม่กลัวติดเชื้อ ออแน่นออมสินขอพร้อมเพย์

ออมสินป่วน คนแห่ขอเปิดบัญชี พร้อมเพย์ รอเงินเยียวยาโควิดคนละ 5,000 จนต้องปิด วอนให้รอลงทะเบียนออนไลน์ เราไม่ทิ้งกันดอตคอม  28 มีค ไม่ต้องไปธนาคาร ระบบจะโอนเข้าบัญชีอง

ฝ่ายสื่อสารองค์กร ธนาคารออมสิน แจ้งว่า ช่วงวันที่ 26-27 มีนาคม 2563มีประชาชนจำนวนมากแห่กันไป ที่สาขาธนาคารออมสินหลายแห่ง จนแออัดแน่นพื้นที่ เพื่อขอเปิดบัญชีเงินฝาก หรือเชื่อมต่อพร้อมเพย์กับบัญชีเงินฝาก สำหรับการรับเงินช่วยเหลือรายละ 5,000 บาท ต่อเดือน เป็นเวลา 3 เดือน ติดต่อกัน ระหว่างเดือน เมษายนถึงเดือนมิถุนายน 
การสนับสนุนเงินช่วยเหลือดังกล่าว เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 24 มีนาคม 2563 ให้มีมาตรการเยียวยา ด้วยการชดเชยรายได้แก่แรงงาน ลูกจ้าง  ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (โควิด-19) โดยเปิดให้ผู้อยู่ในข่ายได้รับการเยียวยา ลงทะเบียนออนไลน์ ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม 2563 ผ่านเว็บไซต์ เราไม่ทิ้งกัน.com ตั้งแต่เวลา 18.00 น.เป็นต้นไป

ดร.ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า ธนาคารขอแนะนำไม่ต้องรีบไปทำธุรกรรมดังกล่าว เพราะติดต่อได้เรื่อยๆ ยังไม่มีระยะเวลาสิ้นสุด ทั้งนี้ เมื่อลงทะเบียนเสร็จและมีการตรวจสอบคุณสมบัติเรียบร้อย การรับเงิน จะทำได้  2 ช่องทาง คือ บัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับบัตรประจำตัวประชาชน หรือโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารใดก็ได้ที่แจ้งไว้
“ผู้ลงทะเบียนไม่ต้องเดินทางมาที่ธนาคารออมสินเพื่อติดต่อใดๆ ทั้งสิ้น เพราะสามารถลงทะเบียนที่บ้านผ่านเว็บไซต์ เราไม่ทิ้งกัน .com ได้เลย เพื่อให้สอดคล้องกับคำแนะนำของรัฐบาล และแพทย์ ซึ่งไม่ต้องการให้ประชาชนมาอยู่ใกล้ชิดกัน แออัด หรือรวมกันเป็นกลุ่ม อาจเป็นช่องทางให้เกิดการติดเชื้อไวรัสกันได้”

               อย่างไรก็ตาม การที่มีประชาชนจำนวนมากไปทำธุรกรรมดังกล่าวที่สาขาธนาคารออมสินหลายแห่งในหลายพื้นที่ ช่วงวันที่ 26-27 มีนาคม 2563 จนเกิดความแออัดหนาแน่นภายในพื้นที่สาขา อาจทำให้เกิดความไม่ปลอดภัย ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ห้ามชุมนุมและรวมตัวกันในสถานที่แออัด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา COVID-19 ธนาคารฯ จึงขอปิดการให้บริการสาขาในบางสาขาที่มีประชาชนไปใช้บริการจำนวนมาก เพราะอาจเกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ต่อทั้งประชาชนและพนักงานธนาคารออมสิน ตั้งแต่ช่วงเวลา 12.00 น. ของวันที่ 27 มีนาคม 2563 เป็นต้นไปจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย

วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563

โควิดกับกลุ่มเสี่ยงวัย 70

โควิดกับกลุ่มเสี่ยงวัย 70

วช.มหิดล เปิด 10 จังหวัด มีกลุ่มเสี่ยงโควิด-19 อายุเกิน 70 มากสุด ชี้ทั่วประเทศมีถึง 4.7ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ภาคอีสาน เหนือ

ศ.ดร.นพ. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)และ รศ.ดร.รศรินทร์ เกรย์ คณะทำงานโครงการวิจัยประเทศไทยในอนาคต สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยผลการศึกษาประชากรของประเทศไทยอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป มีจำนวนทั้งสิ้น 4,764,684 คน เป็นเพศชาย 1,804,914 คน คิดเป็น 38% เพศหญิง 2,959,770 คน คิดเป็น 62%

         ประชากรกลุ่มวัยนี้ กระจายอยู่ทั่วประเทศ มากที่สุดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ1,547,872 คน ภาคเหนือ 977,312 คน ภาคใต้ 591,581 คน ภาคตะวันออก 311,557 คน และภาคตะวันตก 288,881 คน กรุงเทพมหานคร 425,847 คน ปริมณฑล 380,612 คน

ทั้งนี้ สัดส่วนของประชากรผู้ที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป คิดเป็น 7.25% ของประชากรทั้งหมด จังหวัดที่มีผู้ที่มีอายุมากกว่า 70 ปี ต่อประชากรมากที่สุด ได้แก่ สิงห์บุรี สมุทรสงคราม ชัยนาท อ่างทอง สุพรรณบุรี พัทลุง ลำปาง อุทัยธานี อุตรดิตถ์ และพิจิตร ตามลำดับ ส่วนจังหวัดที่มีประชากรผู้สูงอายุ 10 อันดับแรกของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครราชสีมา เชียงใหม่ อุบลราชธานี ขอนแก่น สงขลา บุรีรัมย์ เชียงรายนครศรีธรรมราช และชลบุรี ตามลำดับ

ประชากรวัย 70 ปี เป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อโรคโควิด-19 ร่วมกับกลุ่มคนที่มีโรคประจำตัว และกลุ่มเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปีลงมา ทั้งนี้ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร มีผลตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 กำหนดให้กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงเหล่านี้ อยู่ในเคหสถานหรือบริเวณสถานพำนักของตนเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากสภาพแวดล้อมภายนอก โดยมีคำแนะนำว่า เมื่อมีอาการป่วยต้องรีบรายงานแพทย์โดยเร็ว เพื่อให้การรักษาเป็นการลดอัตราเสี่ยงการเสียชีวิตของกลุ่มเสี่ยงนี้ได้อย่างทันท่วงที

รายงานแจ้งว่า จากผลการวิจัยอัตราการติดเชื้อและความรุนแรงของโรคโควิด-19 ทั้งจากองค์การอนามัยโลก ประเทศจีน และอิตาลี เป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงที่สุดต่อการติดเชื้อรุนแรงและเสียชีวิต ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 60 ปีมีอัตราการเสียชีวิตน้อยกว่า 1% ผู้ที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไปมีอัตราการเสียชีวิต 8.0-9.6% และอายุ 80 ปีขึ้นไปมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 14.8-19.0% ดังนั้นจึงต้องดูแลผู้สูงอายุเป็นพิเศษมิให้ติดเชื้อโควิด-19

วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2563

ไม่ต้องกลัว ! โควิด-19จะอยู่กับเราตลอดไป


นพ.ยง ภู่วรวรรณ ผู้เชี่ยวชาญไวรัสวิทยา ชี้โควิด-19 จะอยู่ตลอดไปเหมือนโรคซาร์ส์ ตอนนี้เริ่มเห็นแสงสว่างสำหรับยารักษาปอด ไม่หวั่นระยะที่ 3 เพราะไม่ทำให้อาการแรงขึ้น


         Pศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก กล่าวในการเสวนาเรื่องจะใช้ชีวิตอย่างไรในโลกยุคCOVID-19 ที่สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12มี.ค.63 ตอนหนึ่งว่า วงการแพทย์กำลังใช้ความพยายามเต็มที่กับโรคจากไวรัสโควิด-19 โดยโรคนี้จะอยู่กับเราตลอดไปจึงต้องเตรียมการ และทุกคนจะต้องช่วยกันชะลอโรคนี้

         “ถามว่าจะอยู่กับเรานานแค่ไหน ก็ตอนไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ก็ระบาดข้ามปี จากนั้นก็อยู่มาจนปัจจุบัน ตอนนั้น วันแรกเราก็กลัว แต่ตอนนี้ไม่ ทั้งนี้ ความกลัวจากการระบาดของ โควิด-19 อาจทำให้เกิดปัญหา เช่น ช่วงแรกคนในประเทศจีนไม่ไปบริจาคเลือด ของเราจึงควรทำให้มั่นใจไปบริจาคให้ได้ โรคนี้ การป้องกันทำได้โดยการล้างมือ และการมีระยะห่างระหว่างบุคคล (Personal distant) ประมาณ2เมตร เพราะน้ำลายคนอาจไปได้ 1เมตร หรือการปลีกตัวจากสังคม (Social distant) ขณะนี้ทราบว่า งานแต่งงานบางรายก็ยกเลิกการจัด ขอให้ส่งคำอวยพรทางอินเทอร์เน็ต


         นพ.ยงกล่าวอีกว่า การระบาดขณะนี้อยู่ในระยะที่ 2 ส่วนระยะที่ 3 เป็นการระบาดที่ไม่ทราบว่ามาจากไหน วงการแพทย์กำลังรอยา ที่จะรักษาไม่ให้เกิดอาการปอดบวม ซึ่งขณะนี้เริ่มเห็นแสงแล้ว และขยายความว่า ระยะเทียบได้กับการเดินทาง ไม่ใช่ระดับ การที่โรคไปถึงระยะไหนไม่ได้ทำให้อาการรุนแรงขึ้น ไม่มีความหมาย นอกจากการเตรียมจะตั้งการ์ด อย่างไรก็ต้องเดิน การกำหนดระยะของการระบาดก็เคยทำกับครั้งก่อน เช่น ไข้หวัดนก ที่ให้ระยะที่ 1 ติดจากสัตว์ด้วยกัน ระยะที่ 2 จากสัตว์สู่คนและระยะที่ 3 ติดจากคนสู่คน ครั้งนี้ ระยะที่ 1 เป็นการติดจากคนที่มาจากต่างประเทศ ระยะที่2 ติดในประเทศ ในวงจำกัด ระยะที่ 3 เป็นการระบาดในวงกว้าง เราก็พยายามให้มันอยู่ระยะที่ 2 ถ้าจำกัดได้ก็ดี หากไม่ได้ก็รับมือกับมัน


วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2563

รถเข็นสูบน้ำพลังแสงอาทิตย์ นวัตกรรมสู้ภัยแล้ง


เปิดตัวผลงานวิจัย ราชภัฏสกลนคร พัฒนาเครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ติดตั้งบนรถเข็น ให้เคลื่อนที่ไปปั๊มน้ำได้ทุกที่ ถึงชม.ละ2,000ลิตร



         ในการเปิดตัวโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งกลุ่มมวลชน ยกระดับความเข้มแข็งของชุมชนด้วยวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ของ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน(กอ.รมน.)ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.) ที่ ต.บ้านพราน อ.แสวงหา จ.อ่างทอง เมื่อวันที่ 7มี.ค.63  ผลงานนวัตกรรมหนึ่งที่ไปถ่ายทอดและส่งมอบให้กับชุมชน 18 แห่งในพื้นที่ 13 จังหวัด เป็นเครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งคิดค้น จัดทำโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จ.สกลนคร
         ผศ.ก้องภพ ชาอามาตย์ อาจารย์ สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งนำคณะไปร่วมถ่ายทอดนวัตกรรมเครื่องสูบน้ำพลังแสงอาทิตย์ กล่าวว่า เป็นการจัดทำขึ้นเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ขาดแคลนแหล่งน้ำ หรือมีแหล่งน้ำแต่ไม่มีไฟฟ้าใช้ จึงออกแบบระบบสูบน้ำให้เคลื่อนที่ไปหาแหล่งน้ำได้
 ผศ.ก้องภพ ชาอามาตย์ 

         “บางแหล่ง แม้ขุดบ่อบาดาลได้แล้ว แต่ไม่มีเครื่องสูบ ก็นำมาใช้ประโยชน์ลำบาก”
         เครื่องสูบน้ำดังกล่าวนี้ ประกอบด้วยมอเตอร์ปั๊มน้ำ ขนาด 500 วัตต์ ติดตั้งบนรถเข็นเดินตาม ออกแบบจัดทำขึ้นโดยเฉพาะให้เหมาะกับแผงโซลาร์เซล ขนาดยาว 1.20เมตร กว้าง 80 ซม. รับพลังงานแล้วแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสตรง ให้มอเตอร์ทำงานได้เลย และยังชาร์จเข้าแบตเตอรี่ชนิดแห้งเพื่อให้ใช้งานได้ในวันที่ไม่มีแสงแดดหรือตามเวลาที่ต้องการ
         ต้นทุนการผลิตรถเข็นสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ คันละ 60,000 บาท เนื่องจากต้องออกแบบขึ้นเฉพาะ แต่หากชุมชนจะนำไปดัดแปลงใช้รถเข็นที่มีขายทั่วไป หรือใช้แบตเตอรี่รถยนต์ ราคาอาจต่ำกว่านี้ แต่การเก็บประจุไฟฟ้าอาจได้ประสิทธิภาพไม่เท่ากับแบบแห้งที่ออกแบบ

         มีรายงานว่า ความสามารถการสูบน้ำได้ถึงชั่วโมงละ2,000ลิตร

วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2563

กอ.รมน.ในบทบาทพัฒนาชุมชนด้วยนวัตกรรม


เปิดอีกบทบาท กอ.รมน.ร่วมกับ วช. มหาวิทยาลัย รุกใช้นวัตกรรมเสริมคุณภาพชีวิต เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตระดับชุมชน 74 จังหวัดทั่วประเทศ


         เมื่อวันที่ 7 มี.ค.63 ที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านพราน อ.แสวงหา จ.อ่างทอง พล.อ. กนก ภู่ม่วง ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก และดร.วิภารัตน์  ดีอ่อง รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นประธานเปิดกิจกรรม Kick-off  ครั้งที่ 3 ร่วมกับ ศูนย์ประสานการปฎิบัติที่ 1 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) และ กอ.รมน.จังหวัดอ่างทอง คณะผู้ทรงคุณวุฒิ วช. คณะนักวิจัย กลุ่มมวลชนจากจังหวัดอ่างทอง  กลุ่มพื้นที่ภาคกลาง 26 จังหวัด และจังหวัดใกล้เคียง เข้าร่วม
โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งกลุ่มมวลชน เป็นการยกระดับศักยภาพความเข้มแข็งของชุมชนด้วยวิจัยและนวัตกรรม  ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือการใช้ประโยชน์องค์ความรู้จากผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่
ในระยะแรกผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มศักยภาพให้แก่ชุมชน ได้แก่
1)เครื่องอบแห้งอินฟราเรดแบบถังหมุน สู่ชุมชน 6 พื้นที่ ใน 6 จังหวัด โดย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
2)ตู้เพาะเห็ดอัตโนมัติ  สู่ชุมชน 10 พื้นที่ ใน 8 จังหวัด โดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
3)ระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบเรือนกระจกหรือพาราโบล่าโดม สู่ชุมชน 4 พื้นที่ ใน 4 จังหวัด โดย มหาวิทยาลัยศิลปากร
4)เครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ สู่ชุมชน 18 พื้นที่ ใน 13 จังหวัด โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
5)เครื่องกลั่นน้ำส้มควันไม้ สู่ชุมชน 231 พื้นที่ ใน74 จังหวัด โดย มหาวิทยาลัยนเรศวร



รวม 269 ชุมชนทั่วประเทศที่จะได้รับประโยชน์จากโครงการนี้

วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2563

WHO ถอดรหัส COVID-19


WHO ถอดรหัส COVID-19
รายงานฉบับแรกจากอู่ฮั่น

          ข่าวการระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 ที่องค์การอนามัยโลกกำหนดชื่อ โควิด-19 (COVID-19) เป็นที่รับรู้ของชาวโลก จากการพบผู้ป่วยที่ทวีจำนวนขึ้นอย่างน่าตกใจ ที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ประเทศจีน เมื่อต้นดือน มค.63 และลามอีกหลายประเทศ จากไทย ไปเกาหลี ญี่ปุ่น อิหร่าน ยันอิตาลี ในช่วงเวลาเพียง 8 สัปดาห์
แม้ทางการจีนมีท่าทีจะดีขึ้น เมื่อถึงสัปดาห์แรกของเดือนมีนาคม แต่ปรากฏว่าศูนย์กลางการระบาดกลับย้ายไปอยู่ประเทศอื่น ต่างทวีปเสียแล้ว
                    สถานการณ์ที่เกิดก่อความสับสนวุ่นวายไปทั่ว ใช่เฉพาะแต่ดินแดนแรกของการระบาด ประเทศอื่นต่างก็เฝ้าระวังเคร่งครัด องค์การอนามัยโลก(World Health Organization) ซึ่งมีหน้าที่ประสานความร่วมมือกับนานาประเทศ เพื่อส่งเสริมสุขอนามัยของทุกคน ได้จัดส่งทีมงาน ประกอบด้วยตัวแทนแพทย์จาก 8 ประเทศ รวมทั้งประเทศจีน จำนวน 25 คน เดินทางเข้าไปยังเมืองอู่ฮั่น ต้นทางการระบาดและแหล่งอื่นๆ เพื่อติดตามสอบสวนสาเหตุของโรค
          ดร.แดเนียล เคอร์เตสซ์ ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย
กล่าวระหว่างการเสวนาที่สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กรุงเทพ ผ่านระบบออนไลน์


เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เมื่อวันที่ 5 มีค.63 ว่า คณะแพทย์ตัวแทนองค์การอนามัยโลกทั้งหมดร่วมการติดตาม สอบสวน อาการผู้ป่วยทั้งประเภทรุนแรง ธรรมดา และที่เสียชีวิต ศึกษาระบบการป้องกันการติดเชื้อว่ามีประสิทธิภาพเพียงใด โดยผู้เชี่ยวชาญขององค์การอนามัยโลกจะช่วยเสนอแนะเพิ่มเติมด้วย
          ศ.นพ.สิริฤกษ์ ศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ทำหน้าที่ ผอ.สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) 


กล่าวสรุปรายงานจากที่มีกว่า40หน้าว่า รายงานนี้ เป็นรายงานชิ้นแรกจากพื้นที่ เพิ่งทำเสร็จเมื่อ 28 กพ.63 โดยเป็นการลงตรวจสอบ พบผู้ปฏิบัติงานจริงใน 4 มณฑล ได้แก่ ปักกิ่ง เสินเจิน กวางโจ และอู่ฮั่น มีข้อมูลว่าที่ประเทศจีน มีโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยอาการหนัก 9 แห่ง ที่ดูแลเฉพาะผู้ป่วยโควิด-19 มี36แห่ง การดูแลในช่วงแรก ปลายเดือน ม.ค.63 มีผู้ติดเชื้อมากจนน่าตกใจ มีอัตราการเพิ่มหลายพันคน แต่เมื่อปฏิบัติไปก็มองเห็นแสงสว่าง
          การศึกษาว่าไวรัสมาจากไหน นักวิทยาศาสตร์ ทำการแยกเชื้อได้ภายใน 1 สัปดาห์ การเลี้ยงเชื้อ พบว่าเป็นไวรัสโคโรน่าคล้ายที่พบในสัตว์ที่ใกล้เคียงกับพันธุกรรมของค้างคาวถึง 96% และจากการถอดรหัสพันธุกรรมของเชื้อจากผู้ป่วย 104 รายการ พบยังไม่มีการกลายพันธุ์ โดยยืนยันจากการตรวจพันธุกรรมคล้ายกันมากกว่า 99%
                    การชันสูตร เสียชีวิต พบว่า ผู้สูงอายุมีอัตราการตายสูงกว่ากลุ่ม อื่น โดยคนอายุ50 ปีขึ้นไป  มีลักษณะพยาธิสภาพปอดอักเสบ
รายงานดังกล่าว ระบุว่า ในจำนวนผู้ติดเชื้อ ราว 80% ไม่แสดงอาการ ที่มีอาการเล็กน้อย และหายไปเอง 14% กลุ่มที่ป่วยหนักมี 6% ซึ่งต้องเข้ารับการดูแลในหอผู้ป่วยหนัก (ไอซียู) ในจำนวนนี้จะเสียชีวิตราว 1ใน 3 หรือ 2 ใน 3  

อย่างไรก็ตาม สัดส่วนผู้เสียชีวิตเมื่อเทียบกับผู้ป่วยทั้งหมด ราว 0.7%
          สำหรับผู้ติดเชื้อ จำแนกตามกลุ่ม พบว่า เด็กจะติดเชื้อต่ำที่สุด ในรายที่ติดเชื้ออาการก็ไม่รุนแรง ส่วนหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งกังวลกันว่าจะเป็นกลุ่มเสี่ยงสูง กลับมีระดับความเสี่ยงในระดับพอๆกับคนทั่วไป



                    ในด้านความเสี่ยงของบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วย พบว่าที่มณฑลกวางตุ้ง มีเจ้าหน้าที่ 1,800 ทีม ดูแลผู้ป่วยทีละคน รวม320,000 คน มีสัดส่วนการติดเชื้อ 1.5% ส่วนที่มณฑลเสฉวน มีสัดส่วนการติดเชื้อ 0.9%  การรับมือกับการระบาดครั้งนี้ จีนใช้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ถึง 400,000 คน ในจำนวนนี้ กลายเป็นผู้ติดเชื้อ 2,055 คน จาก 476 โรงพยาบาลทั่วประเทศ ส่วนการที่มีข่าวแพทย์และบุคลากรป่วยถึงเสียชีวิต เพราะในช่วงต้นยังขาดความพร้อมด้านอุปกรณ์
                    กับข้อสงสัยที่ว่า ไวรัสโควิด-19 เกิดขึ้นก่อนหน้านี้เป็นเวลานาน แต่ไม่เป็นที่รับรู้หรือไม่ ศ.นพ.สิริฤกษ์ กล่าวว่า การศึกษารายละเอียดของการอาการป่วยเทียบเคียงกับรายอื่น ๆพบว่า ผู้ป่วยไวรัส โควิด-19เข้ารับการรักษาและยืนยัน เมื่อวันที่ 30-31ธค.62 เมื่อนำข้อมูลการตรวจเชื้อย้อนหลัง พบรายแรกวันที่ 8 ธค.62 ส่วนในทางคลินิกพบรายแรกวันที่ 2 ธค.62 จึงเป็นไปได้ว่า การพบเชื้อและการระบาดเกิดขึ้นในช่วงนี้
          ส่วนอาการของผู้ป่วยจากเชื้อไวรัสโควิด-19 เกือบทุกรายมีไข้ อีกราว 2 ใน 3 มีอาการไอแห้งๆ
          การถอดรหัสข้อมูลการระบาดของไวรัสโควิด-19 ถึงแหล่งต้นตอที่ประเทศจีน ของตัวแทนองค์การอนามัยโลก ทำให้เกิดองค์ความรู้ถึงสาเหตุและการจัดการอย่างรอบด้าน จึงมีคำแนะนำ ที่ทุกคนมีส่วนร่วมระวัง ป้องกันได้ ได้แก่
          1.ตระหนักแต่ไม่ตระหนก
          2.ดูแลสุขภาพอนามัยตนเอง ด้วยการกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ สวมหน้ากากอนามัยหากมีความเสี่ยง
          3.เฝ่าระวังสังเกตุอาการตนเอง มีไข้ให้พบแพทย์ หรือรายงานแพทย์เมื่อเดินทางออกจากพื้นที่เสี่ยง
          4.สนับสนุนและทำตามมาตรการที่อาจนำมาใช้เมื่อเกิดการระบาด

          เพียงเท่านี้ ก็น่าจะเอาอยู่ สู้ไหว นะ