ข่าวสาร วิทยาศาสตร์ วิจัย นวัตกรรม

วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2559

ย้อนรอย 2 ปีแผ่นดินไหว เชียงราย

ข่าว /เตือนปรับปรุงบ้านรับแผ่นดินไหวเชียงราย

นักวิจัย สกว. ยกทีมย้อนรอยแผ่นดินไหวเชียงรายพบการปรับปรุงบางส่วนไม่ได้มาตรฐาน เสี่ยงรับแรงเขย่าไม่ได้

p เมื่อวันที่ 28 เม.ย.59ศ. ดร.อมร พิมานมาศ อาจารย์สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หัวหน้าโครงการเผยแพร่ความรู้งานวิจัยการออกแบบ ก่อสร้างและเสริมความมั่นคงอาคารบ้านเรือนต้านแผ่นดินไหวสู่วิศวกรและชุมชนในพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหว ลงพื้นที่ อ. แม่ลาวและ อ.พาน จ. เชียงราย เพื่อติดตามการปรับปรุงอาคารบ้านที่ได้รับความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหวขนาด 6.3 เมื่อวันที่5พ.ค.58 โดยพบว่า รายที่เสียหายอย่างหนัก พังทั้งหลัง เช่น บ้านไม้ทรงไทยประยุกต์ เลขที่ 7 บ. ท่ามะโอ ต. จอมหมอกแก้ว อ. แม่ลาว ได้สร้างขึ้นใหม่ โดยแต่ละเสา จะขุดหลุมกว้าง1 ตารางเมตรทำฐานราก และวางคานคอนกรีตบนดิน

pศ.ดร.อมรกล่าวว่าโครงการได้ทำคำแนะนำสำหรับบ้านที่เสียหายบางส่วน เช่นเสาตอม่อปูนแตก เหล็กเสริมหัก  ก็ให้เสริมด้วยเหล็กเส้น พอกปูนให้หนาขึ้น อย่างน้อยให้ได้ขนาด25X25ซม. ส่วนบ้านไม้ ในจุดเชื่อมต่อระหว่างคานกับเสา ให้ใช้แผ่นเหล็กประกบ ใส่น็อตเชื่อม4 ตัวให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เพราะถ้าทำฐานรากแข็งแรง แต่การเชื่อมโครงสร้างตัวบ้านไม่ดี หากเกิดแผ่นดินไหวแรงเสาจะคงอยู่ แต่ตัวบ้านจะพัง อย่างไรก็ตาม พบว่า มีบ้านเรือนจำนวนหนึ่ง ที่ยังซ่อมแซม เสริมความแข็งแรงไม่ดีนัก เช่นพอกปูนหนา แต่ไม่ได้เสริมเหล็กก็อาจมีความเสี่ยงอยู่

p เหตุแผ่นดินไหวดังกล่าว เกิดบนรอยเลื่อนแม่ลาว ซึ่งเป็นรอยเลื่อนย่อยของกลุ่
มรอยเลื่อนพะเยา ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นรอยเลื่อนที่ไม่อยู่ในสายตาของนักวิชาการแผ่นดินไหว มากนัก ทั้งนี้ โอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหวซ้ำในจุดเดิมสำหรับรอยเลื่อนแม่ลาวจะมีรอบเวลา 4000-5000 ปี แต่ก็มีความเสี่ยงต่อผลกระทบจากรอยเลื่อนอื่น เพราะรอยเลื่อนพะเยามีรอยเลื่อนย่อยอยู่หลายสายที่ยังมีพลัง