บ่อสวก
เดี๋ยวนี้ คนรับรู้ว่าการทำให้น้ำตาลทรายเป็นสีขาวบริสุทธิ์ เป็นเรื่องสิ้นเปลือง ไร้ประโยชน์ จึงหันมาเลือกชนิดสีรำ ที่เชื่อกันว่ายังมีสารอาหารเหลืออยู่
แต่ถ้าไปบ้านบ่อสวก ต.สะเนียน อ.เมือง จ.น่าน จะได้ลิ้มความหวานจากการเคี่ยวน้ำอ้อยสด ๆไร้การปรุงแต่งโดยสิ้นเชิง รสและกลิ่นที่สัมผัส เป็นความแตกต่างที่สารสังเคราะห์ทำเลียนให้เนียนได้ยาก
การเคี่ยวน้ำอ้อยแบบนี้ ไม่ได้มีทั่วไป ภาคเหนือ เหลือเพียง 2–3 ชุมชน หนึ่งในจำนวนนั้น อยู่ที่ ต.บ่อสวก ซึ่งทำเพียงปีละครั้งเดียว ด้วยอ้อยที่มีเพียงเล็กน้อยและทำกันเป็นบางครอบครัว ตอนปลูกก็ต้องระวังไม่ใช้สารเคมีหรือยาปราบศัตรูพืช
การเคี่ยวน้ำอ้อย ต้องตั้งใจและใช้เวลา เริ่มจากนำอ้อยมาตัดปลาย คั้นเอาน้ำ แบบที่ทำขายทั่วไปเทลงกระทะใบบัวที่ตั้งบนกองไฟที่ก่อในหลุม แล้วก็เคี่ยวกันแบบไม่รามืออีก 6 ชม. ให้หนืดเกือบจะแข็ง ช่วงที่เคี่ยวไปได้ 4 ชม.จะตักส่วนหนึ่ง แบ่งทำน้ำเชื่อม น้ำปลาหวาน หรือเอามาผสมข้าวเจ้ากวนให้เหนียว เรียก ปาด คือขนมหวานชนิดหนึ่งที่หน้าตาคล้ายข้าวเหนียวเปียก แต่เป็นข้าวเจ้า
เมื่อเคี่ยวน้ำอ้อยจนเหนียวงวด ต้องรีบตักขึ้นมาปั้นหรือใส่ในแม่พิมพ์ให้เป็นก้อน รอจนแห้งจะเป็นผลึกเหมือนทรายเกาะกันแน่น กระทะขนาด 60 ซม. ถ้ากวนเต็มใบ จะได้น้ำตาลอ้อย 8 กก. ได้แล้วก็แบ่งปันกัน
คนเมืองน่านส่วนใหญ่ใช้ชีวิตกับความพอเพียง นักท่องเที่ยวที่ขาดฟาสต์ฟู้ดแฟรนไชส์ไม่ได้ ควรใช้วิจารณญาณ เพราะจะโทรฯสั่งให้ไปส่งคงไม่มี แต่สิ่งที่หาจากที่อื่นได้น้อย คือ การกินอยู่ ที่ไม่ต้องกลัวมลพิษ ไม่ต้องกลัวสิ่งแปลกปลอม หรือการปนเปื้อนนัก ยิ่งลงลึกถึงระดับชุมชน ต.บ่อสวก ก็จะสัมผัสความบริสุทธิ์ชัดมากขึ้น
ทุกวันนี้มีนักท่องเที่ยวสนใจเมืองน่านมากขึ้น จนชาวบ้านในพื้นที่เริ่มห่วงว่าบั้นปลายจะเสื่อมโทรมเหมือนอีกหลายเมืองที่ทราบกัน แต่ก็น่ายินดีที่สถาบันท่องเที่ยวโดยชุมชน และองค์การพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท.ซึ่งมีหน้าที่เลือกพื้นที่ พัฒนาการท่องเที่ยว ไม่ให้ขยายตัวแบบมั่ว ๆ และได้เสนอต่อคณะรัฐมนตรี ประกาศให้ จ.น่าน เป็นพื้นที่พิเศษฯ ประกอบด้วย พื้นที่อนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่าน พื้นที่แหล่งโบราณคดีและศิลปวัฒนธรรมในเขตเทศบาลเมืองน่าน เทศบาลตำบลดู่ใต้ องค์การบริหารส่วนตำบลนาซาว องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อสวก อำเภอเมืองน่าน และองค์การบริหารส่วนตำบลม่วงตึ๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน
แนวการพัฒนาการท่องเที่ยวของเมืองน่าน ทาง อพท. กับภาคีเครือข่ายพัฒนา หน่วยงานราชการ และชาวจังหวัดน่าน ได้กำหนดแนวทาง โดยน้อมนำพระราชดำรัสของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงมีกับชาวน่านว่า “อยากให้จังหวัดน่านรักษาวัฒนธรรมอย่างนี้ไว้” เป็นกรอบในการพัฒนา เน้นการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมและบูรณาการหน่วยงานท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม ยึดหลักสมดุลเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
ด้วยแนวทางนี้ คนที่รักเมืองน่านและอยากรักษาไว้ให้นานเท่านาน คนบ่อสวกก็เห็นด้วยที่จะเข้าร่วม มีบ้านเรือนจำนวนหนึ่งที่เปิดเป็นโฮมสเตย์ต้อนรับคนไปเที่ยว โดยคนที่ไปเที่ยวจะได้สัมผัสกับชุมชนที่มีการปรุงแต่งน้อยที่สุด
อาหารทุกมื้อที่รับประทาน ไม่มีสิ่งใดที่ซื้อจากตลาดภายนอก ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหมูที่เลี้ยงอย่างถูกสุขอนามัยตามแบบชีวภาพ พืชผักจากสวนครัวที่มีกันแทบทุกบ้าน
นอกจากวิถีชีวิตที่ยังคงความดั้งเดิม มีธรรมชาติที่ถูกรบกวนน้อยที่สุด บ่อสวกยังเป็นแหล่งที่พบเตาเผาเครื่องเคลือบภาชนะดินเผาที่สำคัญมาแต่อดีต มีรูปแบบและกรรมวิธีการผลิตเฉพาะตัวที่แตกต่างจากแหล่งอื่น ๆ ของภาคเหนือ ซึ่งผู้สนใจประวัติศาสตร์ อาจเรียนรู้เรื่องราวแต่หนหลังจากหลักฐานหลายชิ้นที่ชาวบ้านรักษากันไว้อย่างดี
บ่อสวกและชุมชนต่าง ๆ ของเมืองน่านไม่ได้มุ่งเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อแสวงหารายได้ โดยไม่สนใจผลกระทบ แต่หวังจะให้การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนเป็นกลไกสนับสนุนการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมและวัฒนธรรม ถ้าอยากได้ข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ให้มากกว่านี้ สอบถามเพิ่มเติมจากคุณปุกคำ 08-4430-5239
อย่านึกว่าคนที่นี่ยึดความดั้งเดิมไปวัน ๆ เพราะมีวิถีการพัฒนาที่น่าทึ่ง เช่น พยายามทดลอง จนสามารถปลูกต้นตาวหรือต๋าว พืชตระกูลปาล์ม ที่มีเนื้อในเมล็ดอ่อน เรียกลูกชิดสำหรับเชื่อมกิน ทดแทนการตัดจากป่าธรรมชาติได้
เพื่อลดการรบกวนพืชพันธุ์ในป่าให้น้อยที่สุด
ขนาดเก็บลูกชิดยังคิดรอบคอบปานนั้น.
แต่ถ้าไปบ้านบ่อสวก ต.สะเนียน อ.เมือง จ.น่าน จะได้ลิ้มความหวานจากการเคี่ยวน้ำอ้อยสด ๆไร้การปรุงแต่งโดยสิ้นเชิง รสและกลิ่นที่สัมผัส เป็นความแตกต่างที่สารสังเคราะห์ทำเลียนให้เนียนได้ยาก
การเคี่ยวน้ำอ้อยแบบนี้ ไม่ได้มีทั่วไป ภาคเหนือ เหลือเพียง 2–3 ชุมชน หนึ่งในจำนวนนั้น อยู่ที่ ต.บ่อสวก ซึ่งทำเพียงปีละครั้งเดียว ด้วยอ้อยที่มีเพียงเล็กน้อยและทำกันเป็นบางครอบครัว ตอนปลูกก็ต้องระวังไม่ใช้สารเคมีหรือยาปราบศัตรูพืช
การเคี่ยวน้ำอ้อย ต้องตั้งใจและใช้เวลา เริ่มจากนำอ้อยมาตัดปลาย คั้นเอาน้ำ แบบที่ทำขายทั่วไปเทลงกระทะใบบัวที่ตั้งบนกองไฟที่ก่อในหลุม แล้วก็เคี่ยวกันแบบไม่รามืออีก 6 ชม. ให้หนืดเกือบจะแข็ง ช่วงที่เคี่ยวไปได้ 4 ชม.จะตักส่วนหนึ่ง แบ่งทำน้ำเชื่อม น้ำปลาหวาน หรือเอามาผสมข้าวเจ้ากวนให้เหนียว เรียก ปาด คือขนมหวานชนิดหนึ่งที่หน้าตาคล้ายข้าวเหนียวเปียก แต่เป็นข้าวเจ้า
เมื่อเคี่ยวน้ำอ้อยจนเหนียวงวด ต้องรีบตักขึ้นมาปั้นหรือใส่ในแม่พิมพ์ให้เป็นก้อน รอจนแห้งจะเป็นผลึกเหมือนทรายเกาะกันแน่น กระทะขนาด 60 ซม. ถ้ากวนเต็มใบ จะได้น้ำตาลอ้อย 8 กก. ได้แล้วก็แบ่งปันกัน
คนเมืองน่านส่วนใหญ่ใช้ชีวิตกับความพอเพียง นักท่องเที่ยวที่ขาดฟาสต์ฟู้ดแฟรนไชส์ไม่ได้ ควรใช้วิจารณญาณ เพราะจะโทรฯสั่งให้ไปส่งคงไม่มี แต่สิ่งที่หาจากที่อื่นได้น้อย คือ การกินอยู่ ที่ไม่ต้องกลัวมลพิษ ไม่ต้องกลัวสิ่งแปลกปลอม หรือการปนเปื้อนนัก ยิ่งลงลึกถึงระดับชุมชน ต.บ่อสวก ก็จะสัมผัสความบริสุทธิ์ชัดมากขึ้น
ทุกวันนี้มีนักท่องเที่ยวสนใจเมืองน่านมากขึ้น จนชาวบ้านในพื้นที่เริ่มห่วงว่าบั้นปลายจะเสื่อมโทรมเหมือนอีกหลายเมืองที่ทราบกัน แต่ก็น่ายินดีที่สถาบันท่องเที่ยวโดยชุมชน และองค์การพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท.ซึ่งมีหน้าที่เลือกพื้นที่ พัฒนาการท่องเที่ยว ไม่ให้ขยายตัวแบบมั่ว ๆ และได้เสนอต่อคณะรัฐมนตรี ประกาศให้ จ.น่าน เป็นพื้นที่พิเศษฯ ประกอบด้วย พื้นที่อนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่าน พื้นที่แหล่งโบราณคดีและศิลปวัฒนธรรมในเขตเทศบาลเมืองน่าน เทศบาลตำบลดู่ใต้ องค์การบริหารส่วนตำบลนาซาว องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อสวก อำเภอเมืองน่าน และองค์การบริหารส่วนตำบลม่วงตึ๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน
แนวการพัฒนาการท่องเที่ยวของเมืองน่าน ทาง อพท. กับภาคีเครือข่ายพัฒนา หน่วยงานราชการ และชาวจังหวัดน่าน ได้กำหนดแนวทาง โดยน้อมนำพระราชดำรัสของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงมีกับชาวน่านว่า “อยากให้จังหวัดน่านรักษาวัฒนธรรมอย่างนี้ไว้” เป็นกรอบในการพัฒนา เน้นการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมและบูรณาการหน่วยงานท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม ยึดหลักสมดุลเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
ด้วยแนวทางนี้ คนที่รักเมืองน่านและอยากรักษาไว้ให้นานเท่านาน คนบ่อสวกก็เห็นด้วยที่จะเข้าร่วม มีบ้านเรือนจำนวนหนึ่งที่เปิดเป็นโฮมสเตย์ต้อนรับคนไปเที่ยว โดยคนที่ไปเที่ยวจะได้สัมผัสกับชุมชนที่มีการปรุงแต่งน้อยที่สุด
อาหารทุกมื้อที่รับประทาน ไม่มีสิ่งใดที่ซื้อจากตลาดภายนอก ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหมูที่เลี้ยงอย่างถูกสุขอนามัยตามแบบชีวภาพ พืชผักจากสวนครัวที่มีกันแทบทุกบ้าน
นอกจากวิถีชีวิตที่ยังคงความดั้งเดิม มีธรรมชาติที่ถูกรบกวนน้อยที่สุด บ่อสวกยังเป็นแหล่งที่พบเตาเผาเครื่องเคลือบภาชนะดินเผาที่สำคัญมาแต่อดีต มีรูปแบบและกรรมวิธีการผลิตเฉพาะตัวที่แตกต่างจากแหล่งอื่น ๆ ของภาคเหนือ ซึ่งผู้สนใจประวัติศาสตร์ อาจเรียนรู้เรื่องราวแต่หนหลังจากหลักฐานหลายชิ้นที่ชาวบ้านรักษากันไว้อย่างดี
บ่อสวกและชุมชนต่าง ๆ ของเมืองน่านไม่ได้มุ่งเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อแสวงหารายได้ โดยไม่สนใจผลกระทบ แต่หวังจะให้การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนเป็นกลไกสนับสนุนการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมและวัฒนธรรม ถ้าอยากได้ข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ให้มากกว่านี้ สอบถามเพิ่มเติมจากคุณปุกคำ 08-4430-5239
อย่านึกว่าคนที่นี่ยึดความดั้งเดิมไปวัน ๆ เพราะมีวิถีการพัฒนาที่น่าทึ่ง เช่น พยายามทดลอง จนสามารถปลูกต้นตาวหรือต๋าว พืชตระกูลปาล์ม ที่มีเนื้อในเมล็ดอ่อน เรียกลูกชิดสำหรับเชื่อมกิน ทดแทนการตัดจากป่าธรรมชาติได้
เพื่อลดการรบกวนพืชพันธุ์ในป่าให้น้อยที่สุด
ขนาดเก็บลูกชิดยังคิดรอบคอบปานนั้น.
วีระพันธ์ โตมีบุญ
VeeraphanT@Gmail.com
http://twitter.com/vp2650
เดลินิวส์ วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2555