ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยวิศวกรรมปฐพีเเละฐานราก คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้วิเคราะห์ตําเเหน่งเเนวเขื่อนป้องกันตลิ่งริมเเม่นํ้าเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกที่มีความเสี่ยงภัยสูงเเละสูงมาก ที่อาจพิบัติเเละส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ การวิเคราะห์ได้อาศัยข้อมูลตําเเหน่งของเขื่อนป้องกันตลิ่งที่ไม่ได้ออกเเบบเเละก่อสร้างโดย กทม ซึ่งอาจมีการโอกาสพิบัติสูง โดยเฉพาะตลิ่งที่ไม่ได้ออกเเบบให้รับเเรงด้านข้างของนํ้า เช่นใช้รั้วบ้านเป็นกําเเพงกันนํ้า หรือบางพื้นที่ไม่มีเเนวเขื่อนป้องกันตลิ่ง หรือบางพื้นที่เป็นแนวกระสอบทราย นอกจากนั้นยังวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลความสูงต่ำของพื้นที่ จึงแนะนำประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวตรวจสอบเเละเฝ้าระวังภัย โดยเฉพาะเมื่อระดับน้ำขึ้นสูง เพราะน้ำทะเลหนุนสูงเกินระดับคันกั้นน้ำที่มีอยู่ หากเกิดการพิบัติ ณ จุดใดจุดหนึ่ง อาจก่อให้เกิดความเสียหายเป็นพื้นที่กว้าง ข้อมูลทั้งหมด ทำเป็นแผนที่ไว้ห้าช่วงได้แก่
1.ช่วงคลองบางเขนถึงสถานีสูบน้ำเทเวศร์ 1.จากสถานีสูบน้ำคลองบางเขนใหม่ถึงปากคลองบางซื่อ
2.บริเวณวัดแก้วฟ้าจุฬามณี เขตดุสิต 3.บริเวณ ขส.ทบ. 4.จากคลองบางซื่อถึง ศรีย่าน5.บริเวณสถานีสูบน้ำสามเสน
6.บริเวณโรงเรียนเขมะสิริอนุสรณ์เก่า7.บริเวณศาลเจ้า8.บริเวณวัดเทวราชกุญชร
2.ช่วงสถานีสูบน้ำเทเวศร์ถึงสะพานสาทร1.ท่าเรือเทเวศร์ 2.ธนาคารแห่งประเทศไทย 3.ชุมชนจากท่าพระจันทร์ถึงท่าช้าง4.ท่าเรือท่าเตียน 5.สถานฝึกและอบรมเยาวชนหญิงบ้านปราณี 6.บริเวณปากคลองตลาด ตลอดยอดพิมาน ผ่านใต้สะพานพุทธ ถึงปากคลองโอ่งอ่าง 7.ซอยโรงปลาทู 8.ตรอกสะพานยาว 9.ตรอกไกร 10. ท่าน้ำราชวงศ์ 11.บริเวณชุมชนทรงวาดถึงศาลเจ้าแม่กวนอิม 12.ศาลเจ้าโจซือก๋ง 13.ศาลเจ้าโรงเกือก 14.ตอนขนานถนนเจริญกรุง บริเวณแยกสี่พระยาต่อเนื่องถึงการสื่อสารแห่งประเทศไทย 15.บริเวณสถานีดับเพลิงบางรัก 16.จากสถานีตำรวจน้ำบางรักถึงสะพานตากสิน
3.ช่วงสะพานสาธรถึงสะพานกรุงเทพ 1.บริเวณอู่ต่อเรือ บริษัทอู่กรุงเทพ 2.จากองค์การสะพานปลาถึงโกดังสามัคคีการค้า ระยะทาง 427 เมตร 3.แนวคลองแยก 4.จากคลองบางขวางถึงศาลแขวงพระนครใต้ ถึง ซอยข้างโรงแรมแม่น้ำ ยาว 658 เมตร 5.บริเวณใกล้วัดราชสิงขร ผ่านเอเชียะนวัฒน์คลังสินค้า ถึงคลองสวนหลวง ยาว 458 เมตร 6.บริเวณหลังวัดลาดบัวขาวถึงสะพานกรุงเทพ
4.จากสะพานกรุงเทพถึงสะพานพระราม 9 1.จากสะพานกรุงเทพถึง ประตูระบายน้ำ (ปตร.)ลำกระโดงสาธารณะ2 2.บริเวณ ปตร.ลำกระโดงสาธารณะ2 3.บริเวณการไฟฟ้านครหลวงยานนาวา 4.ชุมชนใกล้ ปตร.บางคอแหลม 5.ระหว่าง ปตร.คลองภาษีและถนนข้างวัดอินทร์บรรจง 6.บริเวณวัดจันทร์นอก 7.บริเวณลำกระโดงสาธารณะ ใกล้หมู่บ้านภักดี 8.บริเวณโรงแรมมณเฑียรริเวอร์ไซด์ 9.บริเวณใกล้ ปตร.วัดบางโคล่ 10.ตลิ่งใกล้สะพานพระราม 9 บริเวณปลายคลองบางมะนาว
5.จากสะพานพระรามเก้าถึงคลองพระโขนง 1.จาก ปตร.คลองเสาหินถึง ปตร.คลองโพงพางเหนือ 2.ปตร.คลองบางโพงพางใต้ ปตร.คลองปริวาศถึงคลองวัดด่าน 3.ปตร.คลองโบสถ์ถึง ปตร.คลองเคยนอก คลองบ้านเล่า 4.บริเวณข้างสถานีสูบน้ำพระโขนง 5.บริเวณสมาคมหิมะทองคำ 6.จากสถานีสูบน้ำคลองบางอ้อถึงสถานีสูบน้ำคลองบางนา
สำหรับจุดที่มีความเสี่ยงสูง หรือเสี่ยงสูงมากตามแนวสำรวจนี้ ในระยะฉุกเฉิน ควรเฝ้าระวังบริเวณที่ตั้งกระสอบทราย แต่ตั้งทิ้งไว้นาน หากมีน้ำซึมเข้าต้องตรวจสอบแก้ไข โดยแนวกระสอบทรายนั้น หากน้ำล้นฝั่งข้ามเข้าถึงด้านใน จะเกิดการรั่วซึมพังทลายได้ ส่วนกำแพงของเอกชน ซึ่งไม่ได้ออกแบบเป็นคันกั้นน้ำถาวร เช่นรั้วบ้าน ให้เอาดินอุดที่ตีนกำแพง เพื่อกัดน้ำซึมลอด แล้วใช้กระสอบทรายอุดอีกชั้นยันด้านหลังช่วยรับนำหนัก โดยกะให้มีระดับสูงใกล้เคียงกับระดับน้ำ เพราะหากสูงไม่พอ จะทำให้กำแพงนั้นหักได้เหมือนที่เกิดขึ้นย่านบางพลัด
ข้อมูลดังกล่าว เผยแพร่ไว้ที่ http://gerd.eng.ku.ac.th/News/2011_Oct/Flood_Chowpaya.html